2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์

105 ภาคเอกชนและภาครัฐมีส่วนร่วมเพื่อการลดการเกิดปัญหาขยะอาหารและจำเป็นที่จะต้องมีบทลงโทษ สำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนกฎ เพื่อให้เกิดผลประโยชน์และลดการเกิดขยะอาหารตั้งแต่ต้นทางด้วย 4.3.2 กระบวนการจัดการขยะอาหาร การจัดการขยะอาหารในปัจจุบันของประเทศไทยสามารถแยกเป็น 2 กรณี ได้ดังนี้ 1. กระบวนการจัดการขยะอาหารภาคเอกชน เมื่อมีอาหารเหลือทิ้งหรือขยะอาหารจาก ครัวเรือนหรือร้านค้าไม่ว่าที่ เกิดจากการที่ผู้บริโภครับประทานไม่หมดหรืออาหารที่หมดอายุ รับประทานไม่ได้รวมถึงเศษอาหารเหลือทิ้ง ดังนั้นเมื่อถึงกระบวนการจัดการขยะอาหารแต่ละ ครัวเรือน วิธีการจัดการกับขยะอาหารบางครัวเรือนก็จัดการกับขยะอาหารโดยการทำเป็นปุ๋ยหมัก หรือทำเป็นอาหารสัตว์ แต่ขยะอาหารที่เกิดจากครัวเรือนก็มีไม่มากนักจึงสามารถกำจัดได้โดยวิธีการ ดังกล่าว แต่เมื่อพูดถึงขยะอาหารที่เกิดจากร้านค้า ร้านอาหาร ร้านบุฟเฟต์ต่าง ๆ เมื่อเกิดขยะอาหาร แล้วทางผู้ประกอบการมีกระบวนการก่อนจะกำจัดแต่การกำจัดขยะอาหารทางผู้ประกอบการ คือ มี การคัดแยกขยะอาหารไว้เพื่อให้ชาวเกษตรกรมารับไปเพื่อทำเป็นอหารสัตว์ หรือทำเป็นหปุ๋ยหมัก หรือแก๊สชีวภาพ แต่ถ้าหากว่าไม่มีผู้ใดมารับขยะอาหารไปทำการดังกล่าว ทางผู้ประกอบการก็จะมี วิธีการจัดการกับขยะอาหารโดยการไปทิ้งที่จุดรวมทิ้งขยะมูลฝอยประเภทอื่น ๆตามที่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ กำหนดไว้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าต่อให้ผู้ประกอบการมีการคัดแยกขยะอาหารก่อนทิ้งไว้ แต่อย่างไรก็ดีเมื่อทิ้งในที่ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดไว้ให้ ก็เป็นการทิ้งขยะอาหารรวมกับขยะมูลฝอย ประเภทอื่นร่วมไปด้วย 2. กระบวนการจัดการขยะอาหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อประชาชนมีการ ทิ้งขยะอาหารในจุดที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ กำหนดไว้ โดยมีภาชนะหรือถังขยะที่ หน่วยงานจัดตั้งไว้ให้นั้น จุดละ 1 ถัง ซึ่งตามหลักนโยบายของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น จำเป็น ที่จะต้องจัดภาชนะถังขยะไว้ 3 ประเภท เพื่อที่จะให้ประชาชนจัดทิ้งขยะแต่ละประเภท แต่ข้อเท็จจริง แล้วแต่ละพื้นที่มีแค่ 1 ภาชนะเท่านั้นโดยไม่มีการกำหนดให้แยกประเภทของขยะแต่อย่างใด ซึ่ง หมายความรวมถึงขยะอาหารด้วย ดังนั้นประชาชนจึงจำเป็นที่จะต้องจัดทิ้งขยะอาหารรวมกับ ประเภทอื่น ๆ จึงทำให้ขยะมูลฝอยล้นพื้นที่เป็นจำนวนมาก และวิธีการจัดการขยะของ องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น นั้นในแต่ละวันก็จะมีเจ้าหน้าที่ที่จัดเก็บขยะอาหาร ในแต่ละพื้นที่ เพื่อลำเลียงไป ที่จุดทิ้งหรือการกำจัดขยะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดไว้ โดยการจัดเก็บนี้ เป็นการเก็บขยะ อาหารรวมกับขยะมูลฝอยประเภทอื่น ๆ ไปในรถที่ขนส่งขยะ เพื่อลำเลียงไปยังที่กำจัดโดยไม่มีการคัด แยกประเภทแต่อย่างใด ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการจัดภาชนะแยกแต่ละประเภทไว้ให้ประชาชนได้ทำการ ทิ้งขยะแต่ละประเภทไว้ก่อนที่จะมีการจัดเก็บและการลำเลียงขนส่งขยะ โดยให้เจ้าหน้าที่แยกประเภท ของขยะไว้ด้วยก่อนการจัดเก็บขยะซึ่งรวมถึงขยะอาหาร เพื่อให้ง่ายต่อการขนส่ง และกำจัดขยะ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3