2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์
107 อาหารจะไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ต้องมีการลดปริมาณขยะ อาหารที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทางการกำจัดขยะอาหาร ตลอดจนการนำหลักผู้ก่อมลพิษ เป็นผู้จ่าย มาเป็นแนวทางในการสร้างแรงจูงใจและในการกำหนดมาตรการลงโทษ ทั้งนี้ มาตรการทาง กฎหมายในการจัดการขยะอาหารโดยการตราเป็นพระราชบัญญัติจะต้องประกอบด้วยหลักการ ดังนี้ 1. กำหนดประเภทของขยะมูลฝอยโดยแยกประเด็นขยะอาหาร และมาตรฐานทาง เทคนิคเกี่ยวกับการจัดเก็บ ขน ตลอดจนสถานที่กำจัด และการกำจัดขยะตามหลักสุขาภิบาล 2. กำหนดหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รัฐบาล องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ผู้ประกอบการเอกชน และประชาชน ซึ่งต้องเป็นผู้รับผิดชอบตามกฎหมายให้ชัดเจน 3. กำหนดให้มีหน่วยงานกลางอิสระเพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการขยะอาหารเป็นหน่วยงาน กลางในการควบคุมและกำกับดูแลขยะอาหาร และกำหนดมาตรฐานในการจัดการขยะอาหารเพื่อให้ เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ 4. กำหนดมาตรการ และบทลงโทษสำหรับผู้ที่กระทำผิดกฎหมายให้ชัดเจน ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ หลักการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าประสงค์ที่ 12.3 ที่ต้องการให้ลดขยะอาหารของโลกลงครึ่งหนึ่งในระดับค้า ปลีกและผู้บริโภค และลดการสูญเสียอาหารจากกระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการ สูญเสียอาหารหลังเก็บเกี่ยวภายในปี พ.ศ. 2573 ตลอดจนส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ให้ ประชาชนดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อคุณภาพ ชีวิตของตน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3