2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์
109 ไทยและเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าประสงค์ที่ 12.3 นั้น ทางผู้วิจัยจึงได้ศึกษา และวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายในการจัดการขยะอาหาร (Food waste) สามารถวิเคราะห์ได้ ดังนี้ 1. ประเด็นปัญหาการจัดการขยะอาหารในประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีปัญหาที่ ไม่สามารถจัดการขยะอาหารได้ เพราะว่า ประชาชนขาดความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการลดขยะ ตกเป็นเหยื่อการตลาดในการซื้อสินค้าโดยเกิน ความจำเป็นและยังไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อการแก้ปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยสร้างค่านิยม แบบผิดๆ ที่คิดว่าการบริจาคอาหารนั้นไม่สะอาด ไม่ปลอดภัยจนต้องนำไปทิ้ง ซึ่งที่กล่าวมาเป็น จุดเริ่มต้นของการเกิดขยะอาหาร ในกรณีดังกล่าวเมื่อเกิดขยะอาหารแล้วควรคำนึงถึงการจัดการขยะ อาหารโดยแยก เป็น 2 ประเด็น ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดขยะอาหาร 1. ครัวเรือน เป็นสถานที่ที่ เกิดขยะอาหารน้อยที่สุดและเป็นสถานที่สามารถกำจัดได้โดยนำไปเป็นอาหารสัตว์หรือทำเป็นปุ๋ยหมัก และส่วนน้อยที่จะพาไปทิ้งที่สถานที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดไว้ให้ 2. จากร้านค้าหรือร้านอาหาร เป็นสถานที่ที่มีขยะอาหารเป็นจำนวนมากที่สุดและส่วนน้อยที่จะจัดการขยะอาหารโดยกา รทำเป็น อาหารสัตว์หรือบริจาคให้เกษตรกร แต่ส่วนใหญ่จะทำการทิ้งในสถานที่ขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นในพื้นที่นั้น ๆ จัดไว้ให้ แต่ก็มีปัญหาในขั้นตอนการจัดเก็บของหน่วยงานท้องถิ่นที่ไม่มีการแยก ประเภทของขยะอาหารในการจัดเก็บซึ่งเป็นการจัดเก็บรวมกับขยะมูลฝอยประเภทอื่น โดยไม่ได้ คำนึงถึงขยะมูลฝอยประเภทอื่น ๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ ขยะอินทรีย์หรือขยะที่ย่อย สลายได้ส่วนใหญ่มาจากอาหารเหลือทิ้งและกระบวนการจัดการขยะอาหารในปัจจุบันได้มุ่งเน้นที่การ กำจัดขยะที่ปลายทางซึ่งไม่มีการแยกประเภทของขยะมูลฝอย โดยไม่ได้มีการกำหนดแนวทางในการ ป้องกันการเกิดขยะอาหาร ไม่ว่าจะเป็นมาตรการทางภาษี หรือการโฆษณารวมถึงการรณรงค์ให้ ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะอาหาร โดยกฎหมายจัดตั้งกำหนดบทบาทหน้าที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการจัดการ กำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล รวมทั้งอำนาจในการเก็บ ขน และกำจัดขยะมูลฝอย โดยองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจในการออกข้อกำหนดท้องถิ่นเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการจัดการขยะ มูลฝอยการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ค่าธรรมเนียมการเก็บขนและการกำจัดขยะมูลฝอย แต่หลักในการปฏิบัติและการจัดการนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอุปสรรคและปัญหาในการ จัดการขยะมูลฝอย โดยมีข้อจำกัดด้านงบประมาณอุปกรณ์เครื่องมือในการเก็บขนและกำจัดไม่ เพียงพอ และยังไม่มีระบบการเก็บรวบรวม ขนส่งขยะมูลฝอยแบบแยกประเภทเพื่อรองรับการคัดแยก มูลฝอยซึ่งรวมถึงขยะอาหาร จากข้อเท็จจริงในปัจจุบันขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นไม่สามารถที่จะเก็บขนได้ ในวันเดียวกันทั้งหมด ทำให้เกิดปัญหาขยะตกค้างตามแหล่งชุมชน ตามร้านอาหาร ทำให้ขยะที่ตกค้าง เน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็นรบกวนประชาชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่ง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3