2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์
110 ยังขาดรถสำหรับเก็บขนขยะมูลฝอยจากแหล่งชุมชนไปยังสถานที่กำจัดหรือรถเก็บขนขยะมูลฝอยนั้น มีสภาพเก่า ชำรุด ไม่สามารถเก็บขนขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกกระทั่งองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นนั้นไม่มีสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยในพื้นที่ต้องเก็บขนไปกำจัดร่วมกับองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นอื่นที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้ต้องเดินทางไกลในการนำขยะมูลฝอยที่เพิ่มขึ้นและทำให้มีขยะ ตกค้าง ในกรณีดังกล่าวจึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการปรับใช้แนวทางการป้องกันการเกิดขยะอาหาร โดยการนำมาตรการการป้องกันล่วงหน้ามาเสริมสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนเรื่องของสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรทางธรรมชาตินั้น มีลักษณะอย่างหนึ่ง คือ หากเกิดความเสียหายขึ้นความเสียหายนั้น อาจจะร้ายแรง และส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อระบบทางธรรมชาติอื่น ๆ จึงจำเป็นต้องดำเนินการ เพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เลวร้ายไปกว่าที่เป็นอยู่ โดยต้องมีกฎเกณฑ์ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติการไว้ ก่อน สภาพข้อเท้จจริงชี้ให้เห็นว่าหลักการป้องกันล่วงหน้าไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติและวิถีใน ชีวิตประจำวันของประชาชน เพราะประชาชนขาดการเอาใจใส่และข่าวสารที่ได้รับความรู้จาก หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นที่ไม่ทั่วถึง แม้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะดำเนินการรณรงค์สร้าง ความรับรู้ ความเข้าใจ และจิตสำนึกให้ประชาชนในท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการลดปริมาณขยะรวมถึง การคัดแยกประเภทขยะมูลฝอย เพื่อให้มีความตระหนักรู้และรับผิดชอบในการจัดการขยะอาหาร ณ แหล่งกำเนิดของขยะอาหาร แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ จากประเด็นปัญหาดังกล่าว ถึงแม้ประเทศไทยจะมีการบังคับใช้มาตรการทางภาษีเพื่อเป็นแนวทางเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์โดย ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการผลิตสินค้าหรือการให้บริการ แต่ในการจัดการปัญหาการเกิดขยะอาหารนั้นไม่ได้มีการบังคับใช้มาตรการภาษีแต่อย่างใด เนื่องจาก มาตรการทางภาษีนั้นไม่มีผลบังคับครอบคลุมการจัดการขยะอาหารรวมถึงหลักในการป้องกันการเกิด ขยะอาหาร และกระบวนการจัดการ ตลอดจนถึงการกำจัดขยะอาหาร ดังนั้นเมื่อไม่มีมาตรการภาษีก็ ไม่มีการช่วยลดปัญหาขยะอาหารได้ 2. กฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดการขยะอาหาร ปัจจุบันในประเทศไทยพบว่า กฎหมายเกี่ยวกับจัดการขยะอาหารนั้นไม่มีกฎหมายบังคับใช้ เป็นการเฉพาะ กฎหมายที่ใช้ในการควบคุมและการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยมีอยู่มากมายหลายฉบับ แต่ละฉบับมีวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน ซึ่งหมายความรวมถึงการกำจัดขยะอาหารด้วย เมื่อพิจารณาตาม กฎหมายแล้ว มองเห็นว่ามีปัญหาที่สำคัญในเรื่องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น คือ กฎหมายไม่มีความสมบูรณ์เนื่องจากไม่ครอบคลุมการจัดการขยะในทุกขั้นตอนโดย กฎหมายจะเน้นไปที่กำจัดแทนที่จะกำหนดหลักเกณฑ์การจัดการตั้งแต่ต้นทาง ทำให้ปริมาณของขยะ ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องบริหารจัดการมีจำนวนมาก อีกกระทั้งการขาดองค์กรหรือกลไก ในการบังคับตามกฎหมายแบบบูรณาการ เนื่องจากกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3