2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์
111 ขยะให้ถูกต้องเป็นจำนวนมาก แต่ไม่ได้กำหนดกลไกในการบังคับที่ชัดเจนในกรณีที่มีการจัดการขยะที่ ไม่เป็นไปตามกฎหมาย ทำให้ปัญหาการจัดการขยะไม่ถูกต้องและก่อให้เกิดมลพิษที่ไม่ได้ถูกจัดการ อย่างเหมาะสม 2.1 กฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดการขยะอาหารในประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร จัดการขยะอาหารโดยตรงมีเพียงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม การกำจัดของเสีย ความสะอาด เรียบร้อยของบ้านเมืองและกระบวนการจัดการจนไปถึงการกำจัดนั้น ยังเป็นวิธีการจัดการและกำจัด ประเภทเดียวกันกับขยะมูลฝอยโดยทั่วไป เพราะกฎหมายไม่ได้แยกประเภทของการปฏิบัติไว้รวมถึง คำนิยามของขยะอาหาร ซึ่งยังอยู่ในประเภทเดียวกันกับขยะมูลฝอย โดยปัญหาทางกฎหมายที่ใช้ บังคับในการจัดการขยะมูลฝอยซึ่งรวมถึงขยะอาหารนั้นยังไม่มีกฎหมายในเรื่องดังกล่าวบัญญัติไว้ อย่างเฉพาะเจาะจง แต่มีกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ ได้แก่ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของ บ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดการมูลฝอย พ.ศ. 2560 ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามี กฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการขยะมูลฝอยหลายฉบับแต่ การจัดการขยะอาหารก็ยังคงมีปัญหาอยู่ จากการศึกษาการจัดการขยะอาหารนั้นยังเป็นการกำจัด เดียวกันกับขยะมูลฝอยทั่วไป รวมทั้งกระบวนการเก็บ ขน เหมือนกันกับขยะมูลฝอยประเภทอื่น ๆ ดังนั้นเพื่อให้จัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้ จึงจำเป็นต้องมีแนวทางในการจัดการขยะอาหารแยก กระบวนการ จัดเก็บ ขน กำจัด แยกจากประเภทขยะมูลฝอยอื่น ๆ และรวมถึงภาชนะที่รองรับขยะ อาหารจำเป็นต้องแยกภาชนะสำหรับขยะอาหารเหล่านี้ เพื่อที่จะได้จัดการไปสร้างประโยชน์อย่างอื่น ได้ ไม่ว่าจะเป็นการให้อาหารสัตว์ การทำปุ๋ยหมัก หรือการทำพลังงานเชื้อเพลิง และสร้างแรงจูงใจ ให้กับประชาชนในการมีส่วนร่วมและมีต้นแบบผู้นำที่เด็ดขาดในการเป็นตัวอย่างให้ประชาชนได้ปฏิบัติ ตามเพื่อสร้างประโยชน์ที่ดีและให้สอดคล้องกับหลักการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อความก้าวหน้าของประเทศต่อไป 2.2 กฎหมายของต่างประเทศ จากการศึกษาวิจัยนี้ พบว่าการจัดการกับปัญหาขยะอาหารของประเทศต่าง ๆ ทั้งใน ประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา เพื่อเป็นแนวทางในการลดปัญหาขยะอาหารและ ปัญหาขยะอาหารในอนาคตสามารถแยกได้เป็น 3 ประเด็น ดังนี้ 1) การบัญญัติกฎหมายขยะอาหารเป็นการเฉพาะ ประเทศที่มีการบัญญัติกฎหมาย ขยะอาหารบังคับใช้เป็นการเฉพาะนั้น เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ไม่ให้มีความทับซ้อนของ หน่วยงานรวมถึงการบังคับใช้ของตัวกฎหมายนั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพเพื่อเป็นการกำหนดความ รับผิดชอบของรัฐบาลเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อลดขยะอาหารตั้งแต่ต้นทางปรับปรุงกลไกการทำงาน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3