2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์

112 กำหนดเป้าหมาย และเพิ่มความเข้มงวดในการกำกับดูแลและการจัดการ เช่น กฎหมายขยะอาหาร แห่งสาธารณรั ฐประชาชนจีน “ Law of People’s Republic of China on Food Waste”โดย กฎหมายฉบับนี้มีความสำคัญในการกำหนดเชิงกลยุทธ์ เพื่อหยุดการเกิดขยะอาหาร โดยเอื้อต่อการ สร้างความมั่นคงทางอาหารของชาติ ซึ่งเป็นการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งมีบทลงโทษ ชัดเจนสำหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตาม หรือกฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศษเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับ การบริจาคอาหารส่วนเกินและมีการห้ามซุปเปอร์มาเก็ตและร้านขายของชำ (ที่มีขนาดตั้งแต่ 400 ตารางเมตรขึ้นไป) ทิ้งอาหารที่กำลังจะหมดอายุ โดยต้องนำอาหารเหล่านั้นไปบริจาคให้ธนาคาร อาหารหรือองค์กรกุศล เป็นประเทศที่บังคับใช้กฎหมาย จำนวน 3 ฉบับ ในการลดปริมาณการสูญเสีย อาหารและขยะอาหารอย่างเป็นระบบ (1) กฎหมายว่าด้วยการจัดการอาหารส่วนเกินที่เกิดจากการค้า ปลีก เป็นอนุบัญญัติภายใต้ประมวลกฎหมายว่าด้วยสิ่งแวดล้อม (2) กฎหมายว่าด้วยการสร้างแรงจูงใจ ทางภาษี หรือ The General Tax Code มาตราที่ 238 เพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการบริจาคอาหารการที่ (3) กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยทางสุขลักษณะของการบริจาคอาหารและสหรัฐอเมริกาก็มีการ ออกกฎหมายเพื่อจัดการกับปัญหาขยะอาหารโดยเฉพาะเช่นเดียวกัน คือ ในมลรัฐเวอร์มอนต์ คอน เนตทิกัต แมสซาซูเสตส์ และโรดไอแลนด์ ได้ออกระเบียบห้ามกำจัดขยะอาหารด้วยการฝังกลบ ห้าม ให้ผู้ประกอบการนำขยะอาหารมาทิ้งกำจัดด้วยการฝังกลบเกินกว่าปริมาณที่กำหนด และประเทศ สหรัฐอเมริกามีมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาขยะอาหารทั้งการออกกฎหมาย นโยบายจูงใจทั้งสิทธิ ประโยชน์ด้านภาษีจากการบริจาคอาหาร รวมถึงการลดหย่อนภาษีของรัฐบาลกลางอีกด้วย ซึ่ง สะท้อนให้เห็นว่ามาตรการจูงใจทางด้านภาษีมีประสิทธิผลต่อประชาชนในการบริจาคอาหารและผ็ที่ สามารถรับสิทธิทางภาษี ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกฎหมายของประเทศไทยแล้วพบว่า ประเทศไทยไม่มี กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการขยะโดยเฉพาะ มีเพียงกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้เท่านั้น ซึ่ง กระบวนการจัดการขยะอาหารของประเทศไทยนั้นยังเป็นการจัดการขยะมูลฝอยประเภทอื่น ๆ 2) การสร้างแรงจูงใจเพื่อเป็นการลดขยะอาหาร จากการศึกษากฎหมายต่างประเทศ ทั้ง 3 ฉบับแล้ว พบว่า สาธารณรัฐประชาชนจีนให้ความสำคัญกับปัญหาขยะอาหารเป็นอย่างมาก จึง มีการบังคับใช้นโยบายภาษีเพื่ออำนวยความสะดวกในการลดขยะอาหารเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับ ประชาชน ตามมาตรา 26 โดยที่รัฐต้องใช้นโยบายภาษีที่เอื้อต่อการป้องกันการเกิดขยะอาหาร และใน กรณีสาธารณรัฐฝรั่งเศษมีมาตรการทางกฎหมายว่าด้วยการสร้างแรงจูงใจทางภาษี เพื่อเพิ่มแรงจูงใจ ในการบริจาคอาหาร โดยกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้ผู้ที่บริจาคอาหารสามารถขอคืนภาษีได้ร้อยละ 60 ของมูลค่าอาหารที่บริจาค แต่จะต้องไม่เกินร้อยละ 0.5 ของผลประกอบการต่อปี รวมถึง สหรัฐอเมริกามีการให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี มาตรการในการจูงใจให้มีการบริจาคอาหาร ผู้ที่ สามารถรับสิทธิทางภาษีได้แก่ ธุรกิจ เช่น ร้านอาหาร ร้านขนม ซุปเปอร์มาร์เก็ต ตลอดจน ธุรกิจ การเกษตร โดยจะสามารถลดหย่อนภาษีของรัฐบาลกลาง (federal tax) ตาม Section 170 (3) ตาม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3