2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์
113 ประมวลกฎหมายรัษฎากรของสหรัฐอเมริกาได้ เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับกฎหมายในประเทศไทย แล้ว พบว่า ประเทศไทยไม่มีแนวทางส่งเสริมหรือมาตรการจูงใจสิทธิประโยชน์ให้กับประชาชนให้มี การบริจาคอาหาร แม้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการขยะอาหารแต่ก็มี กฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้องแต่ก็ไม่สามารถจัดการกับปัญหาขยะนั้นได้ อีกกระทั้งหลักความเป็น จริงประชาชนไม่ให้ความร่วมมือเพราะขาดความรู้ ในการคัดแยกขยะอาหาร ไม่มีการจัดการขยะ อาหารตั้งแต่ต้นทาง และสร้างค่านิยมผิด ๆ ในการที่จะบริจาคอาหาร ว่าอาหารที่บริจาคนั้น คือ อาหารที่ไม่สะอาดและปลอดภัย 3) บทกำหนดโทษ จากการศึกษา พบว่า มาตรการการลงโทษผู้กระทำฝ่าฝืนหรือ ก่อให้เกิดขยะอาหารนั้นหลายประเทศให้ความสำคัญกับปัญหาขยะอาหาร โดยมีการออกมาตรการ ทางกฎหมายเพื่อควบคุมการลดปริมาณการเกิดขยะอาหาร โดยกำหนดบทลงโทษไว้ด้วย ตัวอย่างเช่น ประเทศจีนมีการออกกฎหมายต่อต้านการสิ้นเปลืองอาหาร อาทิ การรับประทานอาหารระหว่าง ปฏิบัติหน้าที่ราชการต้องไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด สามารถเก็บค่าบริหารจัดการขยะอาหารกับผู้ สั่งซื้ออาหารเยอะจนเหลือทิ้งได้ ภัตตาคารใดล่อลวงลูกค้าให้สั่งอาหารเกินความพอดีจะต้องถูกลงโทษ ปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 หยวน ผู้ผลิตและเผยแพร่คลิปวิดิโอกินทิ้งกินขว้างจะต้องถูกลงโทษ ปรับ สูงสุดไม่เกิน 100,000 หยวน เป็นต้น และประเทศฝรั่งเศส มีการกำหนดมาตรการการลงโทษสำหรับ ผู้ที่ฝ่าฝืนหากผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการขยะของประเทศฝรั่งเศษนั้นจะต้อง ได้รับโทษปรับระดับ 3 (third-class contraventions) และหากผู้จำหน่ายอาหารที่บริจาคอาหาร ส่วนเกินโดยไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบว่าด้วยความปลอดภัยของการอาหาร ต้องได้รับโทษปรับเป็นเงิน จำนวน 3,750 ยูโร (133,293 บาท) และโทษอื่น ๆ ภายใต้กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยของอาหาร อีกด้วย เมื่อพิจารณากฎหมายของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะอาหารแล้ว ชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยไม่ได้มีกฎหมายเกี่ยวกับขยะอาหารโดยตรงจึงไม่มีสภาพบังคับเกี่ยวกับบทลงโทษแต่อย่าง ใด ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายขยะอาหารโดยเฉพาะมาบังคับใช้เพื่อให้เกิดเป็นเอกภาพและ ลดปัญหาการเกิดขยะอาหารลงได้ โดยกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้กระทำที่ฝ่าฝืนที่ก่อให้เกิดขยะ อาหารนั้นด้วย ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีกฎหมายที่บังคับใช้กับขยะอาหารโดยเฉพาะ แต่กฎหมาย ดังกล่าวไม่มีการกำหนดโทษแต่อย่างใด และประเทศไทยไม่มีทั้งกฎหมายเกี่ยวกับขยะอาหาร โดยเฉพาะรวมถึงทั้งการกำหนดโทษผู้ที่ก่อให้เกิดขยะอาหารอีกด้วย 3. แนวทางการพัฒนากฎหมายในการจัดการขยะอาหาร ตามวัตถุประสงค์ที่ปรากฏในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าประสงค์ที่ 12.3“ลดขยะอาหาร ของโลกลงครึ่งหนึ่งในระดับค้าปลีกและผู้บริโภค และลดการสูญเสียอาหารจากกระบวนการผลิตและ ห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการสูญเสียอาหารหลังเก็บเกี่ยวภายในปี พ.ศ. 2573” เพื่อให้เป็นแนวทางการ พัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการจัดการขยะอาหารตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง คือ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3