2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์

114 1) การปรับใช้หลักการป้องกันล่วงหน้า โดยการนำมาตรการทางภาษีมาเป็นแรงจูงใจให้ ประชาชนเพื่อลดปัญหาการเกิดขยะอาหารตามกฎหมายที่ศึกษาของต่างประเทศไม่ว่าจะเป็น สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐฝรั่ งเศสและสหรัฐอเมริกามาเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนา กฎหมายในการควบคุมการเกิดขยะอาหารในประเทศไทยได้ และการโฆษณาหรือรณรงค์เพื่อให้ ประชาชนทั้งภาคเอกชนและหน่วยงานของภาครัฐ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในการจัดการขยะนั้น จำเป็นต้องมีการโฆษณาเพื่อรณรงค์ให้ประชาชนทั้งภาคเอกชนและภาครัฐมีส่วนร่วมเพื่อการลดการ เกิดปัญหาขยะอาหารโดยเสนอให้รัฐบาลสนับสนุนการรณรงค์ระดับชาติ และใช้ผู้มิทธิพลในสังคม สร้างกระแส การใช้สื่อออนไลน์อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความร่วมมือให้คนรุ่นใหม่และคนในสังคมเห็น ความสำคัญในการลดปริมาณขยะอาหารมากขึ้น เหมือนกับแนวทางของประเทศฝรั่งเศสที่กำหนดวัน แห่งการต่อต้านขยะอาหาร ในวันที่ 16 ตุลาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันแห่งอาหารโลกด้วย เพื่อให้ทุกคน หันมาสนใจประเด็นปัญหาขยะอาหารอย่างจริงจังและจำเป็นที่จะต้องมีบทลงโทษสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืน กฎหมาย เพื่อให้เกิดผลประโยชน์และลดการเกิดขยะอาหารตั้งแต่ต้นทางด้วย โดยนำกฎหมายของ ต่างประเทศทั้ง 3 ฉบับ มาใช้ควบคู่กันในการทำโฆษณาหรือรณรงค์ไม่ให้ก่อให้เกิดขยะอาหาร เพื่อ เป็นการตักเตือนเพื่อที่จะให้วางแผนก่อนจะซื้อหรือบริโภคอาหาร และไม่ให้สั่งอาหารจนเกินความ ต้องการตนเอง โดยนำนโยบายของสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ว่า แคมเปน “กินให้หมดจาน” ที่ รณรงค์ โปสเตอร์และคำขวัญต่อต้านขยะอาหาร ติดอยู่บนฝาผนังของร้านอาหาร เพื่อเป็นแนวทางใน การป้องกันการเกิดขยะอาหารได้ 2) กระบวนการจัดการขยะอาหารในประเทศไทย กรณีการจัดการขยะอาหารภาคเอกชน โดยวิธีการจัดการขยะอาหารดังกล่าวนั้นที่เกิดจากครัวเรือนก็มีวิธีการจัดการกับขยะอาหารโดยการทำ เป็นปุ๋ยหมักหรือทำเป็นอาหารสัตว์ แต่ขยะอาหารที่เกิดจากครัวเรือนมีไม่มากนักจึงสามารถกำจัดได้ โดยวิธีการดังกล่าวซึ่งต่างจากขยะอาหารที่เกิดจากร้านค้า ร้านอาหาร ร้านบุฟเฟต์ต่าง ๆ ทาง ผู้ประกอบการการทำการจัดการโดยคัดแยกขยะอาหารไว้ให้ชาวเกษตรกรเพื่อทำเป็นอาหารสัตว์หรือ ทำเป็นปุ๋ยหมัก แต่ส่วนใหญ่จะนำไปกำจัดโดยการทิ้งในที่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ จัดไว้ให้ โดยไม่มีภาชนะไว้แยกทิ้งแต่อย่างใด และกรณีการจัดการขยะอาหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่ ในการจัดการขยะรวมทั้งการอำนวยความสะดวกในการจัดทิ้งขยะให้กับประชาชน แต่ ข้อเท็จจริงหลักการปฏิบัติไม่สอดคล้องกับแนวทางที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด ทั้งภาชนะที่ ไว้ทิ้งขยะอาหาร และกระบวนการจัดเก็บขยะอาหารนั้นเป็นการจัดเก็บรวบรวมกับขยะมูลฝอ ย ประเภทอื่นอีกด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีนโยบายในการจัดสรรภาชนะเพื่อ รองรับขยะแต่ละประเภทแต่ในทางปฏิบัติกลับไม่ได้ปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าว จึงทำให้ประชาช น จำเป็นที่จะต้องทิ้งขยะโดยไม่มีการแยกประเภทแต่อย่างใด ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีแนวทางการจัด ภาชนะแยกแต่ละประเภทไว้ให้ประชาชนได้ทำการทิ้งขยะแต่ละประเภทไว้ก่อนที่จะมีการจัดเก็บและ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3