2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์
116 ขยะอาหารโดยการกินทิ้งกินขว้างและกำจัดที่ไม่ถูกต้องตามสุขลักษณะ ในทำนองอย่างสาธารณรัฐ ประชาชนจีน ที่มีกฎหมายเฉพาะในการป้องกันการเกิดขยะอาหาร ไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์ติดโปสเตอร์ เพื่อเตือนผู้บริโภคให้ละเว้นจากการสั่งอาหารที่มากเกินไป และสามารถเรียกเก็บเงินจากผู้ที่กินทิ้งกินขว้าง อาหารได้ และกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ที่ชักจูงหรือทำให้ผู้บริโภคสั่งอาหารมากเกินไป นอกจากนี้ประเทศไทยควรนำแนวทางกฎหมายของสหรัฐอเมริกา มาปรับใช้ในกรณีการบริจาค อาหารส่วนเกิน โดยจำเป็นจะต้องมีหน่วยงานหลักที่ดูแลเรื่องการบริหารจัดการอาหารส่วนเกินที่ รับประทานได้และรวมถึงขยะอาหาร และสร้างฐานข้อมูลสถิติเกี่ยวกับขยะอาหารในทุก ๆ ปี เพื่อ ส่งเสริมให้มีการบริจาคอาหารและแก้ไขการเกิดปัญหาขยะอาหารได้อย่างต่อเนื่อง และจำเป็นที่ จะต้องกำหนด การให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี เพื่อจูงใจให้มีการบริจาคอาหาร ซึ่งเป็นการป้องกัน การเกิดขยะอาหาร โดยผู้ที่สามารถรับสิทธิทางภาษีได้ ได้แก่ ร้านอาหาร ร้านขนม ซุปเปอร์มาร์เ ก็ต ตลอดจนธุรกิจการเกษตร เพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการบริจาคอาหารซึ่งกำหนดให้ผู้บริจาคอาหารสามารถ ขอคืนภาษีได้ ยิ่งไปกว่านั้นประเทศไทยควรมีแนวทางการบริจาคอาหารเพื่อสร้างแรงจูงใจในการก่อให้เกิดการ ลดขยะอาหาร และให้มีกฎหมายการจัดการขยะอาหารเป็นกฎหมายหลักในการบริหารจัดการขยะ อาหารของประเทศ รวมถึงการมีนโยบายเพื่อลดปริมาณขยะอาหาร เช่น การรณรงค์การต่อต้านการ เกิดขยะอาหาร เหมือนกันกับแนวทางของสาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยกำหนดเป็นการรณรงค์ระดับชาติ คือ วันแห่งการต่อต้านขยะอาหาร ในวันที่ 16 ตุลาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันแห่งอาหารโลก เพื่อให้ ประชาชนได้มีความตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบของขยะอาหาร โดยกฎหมายที่จะได้มีการจัดทำขึ้นเป็นพระราชบัญญัตินั้นต้องวางอยู่บนพื้นฐานของหลักการ พัฒนาที่ยั่งยืน เป้าประสงค์ที่ 12.3 กล่าวคือ ขยะอาหารจะไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของ มนุษย์และสิ่งแวดล้อม ต้องมีการลดปริมาณขยะอาหารที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทางการ กำจัดขยะอาหาร ตลอดจนการนำหลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย มาเป็นแนวทางในการสร้างแรงจูงใจและ ในการกำหนดมาตรการลงโทษ ดังนั้นพระราชบัญญัตินี้จะต้องประกอบด้วยหลักการ ดังนี้ 1. กำหนดประเภทของขยะมูลฝอยโดยแยกประเด็นขยะอาหาร และมาตรฐานทางเทคนิค เกี่ยวกับการจัดเก็บ ขน ตลอดจนสถานที่กำจัด และการกำจัดขยะตามหลักสุขาภิบาล 2. กำหนดหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รัฐบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการเอกชน และประชาชน ซึ่งต้องเป็นผู้รับผิดชอบตามกฎหมายให้ชัดเจน 3. กำหนดให้มีหน่วยงานกลางที่เป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการขยะอาหารเป็นกลไกใน การควบคุมและกำกับดูแลปัญหาขยะอาหาร และกำหนดมาตรฐานในการจัดการขยะอาหารเพื่อให้ เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ 4. กำหนดมาตรการ และบทลงโทษสำหรับผู้ที่กระทำผิดกฎหมายให้ชัดเจน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3