2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์
บ ทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา การขับเคลื่อนรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน มีความสำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนบน พื้นฐานของการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ตระหนักถึงต้นทุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ขยะอาหารเป็นหนึ่งในประเด็นปัญหาที่สำคัญของโลกดังที่ ปรากฏในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าประสงค์ที่ 12.3“ลดขยะอาหารของโลกลงครึ่งหนึ่งในระดับ ค้าปลีกและผู้บริโภค และลดการสูญเสียอาหารจากกระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการ สูญเสียอาหารหลังเก็บเกี่ยวภายในปี พ.ศ. 2573” ทั้งนี้องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (The Food and Agriculture Organization of United Nation : FAO) ร่วมกับโครงการสิ่งแวดล้อม สหประชาชาติ (United Nation Environment Programme : UNEP) ได้เสนอแนวทางและลำดับ การบริหารจัดการอาหารเพื่อลดปริมาณขยะอาหาร โดยแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ 1) การป้องกัน 2) การเพิ่มประโยชน์ 3) การนำมาเพื่อผลิตใช้ใหม่ 4) การกำจัดเพื่อนำพลังงานมาใช้ใหม่ 5) การกำจัด (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2565) ปัญหาขยะเป็นปัญหาที่ทุกประเทศให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากแต่ละประเทศมี นโยบายในการส่งเสริมการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการผลิตภายในแต่ละประเทศ ทำให้สังคมเมืองมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และผลจากการที่ประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ทำให้ การอุปโภคและบริโภคในตัวสินค้าและบริการ จึงมีอัตราของการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการที่ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (มณฑา บุญวิสุทธานนท์ และสุพัตรา แผนวิชิต, 2564) ดังนั้นผลจากการผลิตสินค้าในปริมาณมากโดยภาคอุตสาหกรรม และการขยายตัวของสังคม ผู้บริโภคจึงก่อให้เกิดปัญหาด้านอาหารที่ผลิตขึ้นเป็นจำนวนมากแต่สิ่งที่มนุษย์ไม่ได้บริโภคนั้นมี ผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ก่อให้เกิดปัญหาการเพิ่มขึ้นของขยะและ ปัญหาในด้านสิ่งแวดล้อมจึงทวีความรุนแรงมากขึ้น ประมาณการว่ามีอาหารถูกทิ้งถึงหนึ่งในสามของ อาหารที่ผลิตขึ้นซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ไม่จำเป็น และยิ่งหากนำขยะอาหารไปฝังกลบในสภาวะที่ไร้อากาศจะก่อให้เกิดก๊าซมีเทนซึ่งเป็นก๊าซ เรือน กระจกที่มีศักยภาพในการทำให้โลกร้อนถึง 25 เท่า เมื่อเทียบกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ส่งผลต่อ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Environment Programme, 2021) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 ประเทศไทยได้ลงนามยอมรับวาระการพัฒนา 2030 (Agenda 2030) และ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมาย แต่ปัจจุบันการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อลด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3