2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์

2 ปริมาณและจัดการขยะอาหารนั้นในประเทศไทยยังไม่ปรากฏอย่างชัดเจน เนื่องจากขาดความ ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน การลดการสูญเสียอาหาร ระหว่างการผลิต การขนส่งและการบริหารจัดการสินค้าเพื่อควบคุมขยะอาหาร รวมไปถึงการหา แนวทางใช้ประโยชน์ จากขยะอาหารเพื่ อลดการสูญเสียของทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ตรงตาม วัตถุประสงค์ของหลักการที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนบนพื้นฐานของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่ต้องตระหนักถึงต้นทุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมี ประสิทธิภาพ ขยะอาหารเป็นหนึ่งในประเด็นปัญหาที่สำคัญของโลกเพราะในสังคมวงกว้างที่ผ่านมามี เพียงกำหนดเป็นมาตรการและแนวทางปฏิบัติในแผนภาพรวมด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมของประเทศ ไทย อีกทั้งแผนส่วนใหญ่จำแนกขยะอาหารเป็นขยะอินทรีย์และนำไปกำจัดรวมกับขยะมูลฝอย โดยไม่ มีแนวทางการจัดการเฉพาะเพื่ อลดปริมาณและลดผลกระทบต่อสิ่ งแวดล้อม สวนทางกันกับ สถานการณ์ปัญหาขยะอาหารที่มีแนวโน้มอยู่ในระดับวิกฤตจากปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ การกำหนด นโยบายให้เป็นผู้ผลิตอาหารที่สำคัญของโลก การขยายตัวของเมือง จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและ การส่งเสริมการท่องเที่ยวทั่วประเทศที่ล้วนส่งผลให้มีปริมาณการผลิตขยะอาหารเพิ่มมากขึ้น อีกทั้ง ประสิทธิภาพการบริหารจัดการของเสียยังมีข้อจำกัด สถานที่กำจัดที่ไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลมาก ถึง 2,257 แห่ง จากทั้งหมด 2,666 แห่ง และส่วนใหญ่เป็นการฝั่งกลบ (อรสุภาว์ สายเพชร และฆริกา คันธา, 2566) ขยะอาหารและการสูญเสียอาหารภายใต้นิยามขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations-FAO) มีความหมายดังนี้ คือ การ สูญเสียอาหาร หรือ “food loss” หมายถึง อาหารใด ๆ ที่สูญเสียไปตั้งแต่การผลิตจนถึงก่อนถึงมือ ผู้บริโภคหรือการสูญเสียอาหารที่เกิดขึ้นในขั้นตอนแรกๆของการผลิตอาหาร หลังเก็บเกี่ยวและการ แปรรูปในห่วงโซ่อุปทานอาหาร ส่วนอาหารที่ถูกทิ้งหรือวัตถุดิบใด ๆ ที่สูญเสียในช่วงปลายห่วงโซ่ อาหาร (ขั้นตอนการขายปลีกและการบริโภค) ซึ่งเชื่อมโยงไปยังพฤติกรรมของผู้ขายปลีกและผู้บริโภค เช่น การสูญเสียอาหารหรือวัตถุดิบอาหารเมื่อถึงมือผู้บริโภคแล้ว จะถูกเรียกว่า “ขยะอาหาร” หรือ “food waste” (ขวัญคณิศร์ อินทรตระกูล และณัฐฐา เพ็ญสุภา, 2563) ซึ่งการสูญเสียอาหารหรือขยะอาหารเหล่านี้ เป็นส่วนหนึ่งของขยะมูลฝอย ขยะมูลฝอย คือ สิ่งของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตและอุปโภคซึ่งเสื่อมสภาพจนใช้การไม่ได้หรือไม่ต้องการใช้แล้ว บางชนิดเป็นของแข็งหรือกากของเสีย (Solid Waste) มีผลเสียต่อสุขภาพทางกายและจิตใจเนื่องจาก ความสกปรกเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคทำให้เกิดมลพิษ โดยแยกประเภทของขยะมูลฝอย มี 4 ประเภท คือ 1) ขยะมูลฝอยอินทรีย์ และสามารถย่อย สลายให้หมดไปได้ตามธรรมชาติ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1.1 ขยะมูลฝอยเปียก ได้แก่ เศษ อาหาร ขยะมูลฝอยจากตลาดสด ซึ่งมีความชื้นสูง ถ้าปล่อยทิ้งไว้ จะเน่าเปื่อยเร็ว ส่งกลิ่นเหม็น 1.2 ขยะมูลฝอยแห้ง ได้แก่ ขยะมูลฝอยที่มีความชื้นน้อย เน่าเปื่อยน้อย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3