2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์
3 หรือไม่เน่าเปื่อย เช่น กระดาษ กระป๋อง เศษไม้ เป็นต้น (ภมร ขันธหัตถและคณะ, 2565) 2) ขยะมูล ฝอยรีไซเคิล เป็นสิ่งที่สามารถนำไปแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ อาทิ กระดาษ พลาสติก โลหะ กล่อง กระป๋อง แผ่นซีดี เป็นต้น 3) ขยะมูลฝอยอันตราย เป็นสิ่งที่มีการปนเปื้อนสารอันตราย วัตถุติดเชื้อ วัตถุไวไฟ และวัตถุกัดกร่อน เช่น ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ และกระป๋องสเปรย์ เป็นต้น 4) ขยะมูลฝอย ทั่วไป หมายถึง สิ่งอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวมาข้างต้น อาจนำมาใช้ใหม่ได้ แต่ย่อยสลายยาก ไม่คุ้มค่าใน การแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ เช่น เศษผ้า เศษหนัง ซองบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป พลาสติกห่อขนม เป็นต้น (สมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม, 2564) และประเด็นปัญหาขยะอาหารเหล่านี้คืออยู่ในประเภท ขยะมูลฝอยอินทรีย์ ที่สามารถย่อยสลายได้ ซึ่งรวมทั้งส่วนที่กินได้และกินไม่ได้ ขยะอาหาร ( Food Waste) คืออาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งส่วนของอาหารที่กินไม่ได้ (Inedible Parts) ที่ถูกทิ้งในช่วง ท้ายของห่วงโซ่อุปทานอาหารของมนุษย์ขยะอาหารนั้นเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตและจำหน่าย ในร้านค้าปลีกและภาคบริการด้านอาหารการบริโภคทั้งในครัวเรือนและนอกครัวเรือนจนถึงขั้นตอน การกำจัดสุดท้าย “ส่วนของอาหารที่กินไม่ได้” คือ ส่วนประกอบของอาหารที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อ การบริโภคของมนุษย์ เช่น กระดูก เปลือก เป็นต้น (ไม่รวมบรรจุภัณฑ์) โดยส่วนที่กินไม่ได้นี้จะมีความ แตกต่างกันไปตามกลุ่มผู้บริโภคซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้เมื่อระยะเวลาผ่านไป หรือจะเปลี่ยนไป ตามสภาพของภูมิอากาศ ฤดูกาล และพฤติกรรมทางเศรษฐกิจสังคม วิถีชีวิตตลอดจนอุปนิสัยและ แบบแผนในการบริโภคของแต่ละชุมชน/เมือง โดยทั่วไปมีองค์ประกอบแตกต่างกันไปรวมถึงความ เป็นอยู่ราคาของสินค้าอาหาร การค้าระหว่างประเทศ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (อรสุภาว์ สายเพชร และฆริกา คันธา, 2566) ปัจจุบันโลกกำลังเผชิญกับวิกฤตขยะอาหาร โดยเราสูญเสียและทิ้งขว้างอาหารประมาณ 1,300 ล้านตันทุก ๆ ปี ในขณะที่ทุก ๆ วันประชากรโลก 1 ใน 8 คน ยังอดอยากอยู่ ดร.โรซ่า เอส. โรลเล่ เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านอุตสาหกรรมเกษตร ชี้สภาพปัญหาให้เห็นว่า ขยะอาหาร เป็นปัญหาระดับโลก ที่ มวลมนุษยชาติต้องเร่งแก้ไข อีกทั้งขยะอาหารยังส่งผลลบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งการสูญเสียและทิ้งขว้าง อาหารยังเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้เพาะปลูกอาหารโดยไม่จำเป็น เช่น น้ำ ดินและ พลังงาน นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังทิ้งขว้างอาหาร ด้วยนิสัยการจับจ่ายและการบริ โภคที่ไม่เหมาะสม เช่น การซื้ออาหารปริมาณครั้งละมาก ๆ แต่ไม่มีการวางแผนบริโภคและเก็บรักษาที่ดีพอ และอีก หลาย ๆ ประเทศยังมีวัฒนธรรมในการกินที่จะต้องให้เหลือไว้ในจาน จนเกิดปัญหาขยะอาหารล้น นอกจากจะเป็นปัญหาที่สะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำของสังคมแล้ว ยังเป็นปัญหาทางสิ่งแวดล้อมและบั่น ทอนโอกาสทางสุขภาพอีกด้วย (พริบพันดาว, 2557) ในขณะที่ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตอาหารอันดับต้นของโลกมีค่า GHI ในระดับกลาง การสูญเสีย อาหารทั่วโลกซึ่งมีปริมาณประมาณ 1,300 ล้านตัน จะกลายเป็นเศษอาหารเหลือทิ้ง การสูญเสีย อาหารและขยะอาหารถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องจัดการอย่างเร่งด่วน ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3