2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์

4 มนุษย์ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม การจัดการปัญหาขยะอาหารจึงจำเป็นต้องอาศัยการ ทำงานร่วมกันในทุกภาคส่วน เพื่อช่วยลดปัญหาขยะอาหารที่เกิดขึ้นได้ ปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต ของมนุษย์ส่วนหนึ่งก็คือ อาหาร แต่ทว่าหนึ่งในสามของอาหารที่ผลิตออกมาไม่สามารถนำมา รับประทานได้ก็กลายเป็นขยะอาหาร ทั้งที่อาหารเหล่านั้นอาจจะเป็นอาหารส่วนเกินที่สามารถนำไป รับประทานต่อได้ก็ตาม หากแต่ต้องทิ้งกลายเป็นขยะอาหารหรือประมาณ 1.6 พันล้านตันต่อปี ซึ่ง เป็นข้อมูลที่ได้จากการประมาณการณ์ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (สถาบันวิจัย เพื่อการพัฒนาประเทศไทย, 2562) สำหรับสาเหตุของการเกิดขยะจากอาหาร (food waste) มีสาเหตุมาจากการที่ผู้บริโภคขาดการ วางแผนก่อนซื้ออาหารทำให้ซื้อของมากเกินความต้องการของตัวเอง คือ ซื้ออาหารมาเยอะเกินจนกิน ไม่ทัน หรือสับสนข้อมูลการแสดงระยะเวลาอายุการเก็บรักษาหรือวันหมดอายุบนฉลากสินค้า เช่น best beforedate หรือ use by date ก็มีผลทำให้ผู้บริโภคขาดความรู้ความเข้าใจและทำให้เกิด ความสับสนได้ ไปจนถึงเหตุผลที่ว่าหน้าตาของอาหารนั้น ๆ ไม่สวยงาม มีรูปร่างหน้าตาไม่สมประกอบ หรือแม้กระทั่งกรณีของขนาดบรรจุของผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดใหญ่มักได้รับความนิยมจากผู้บริโภค เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดใหญ่เมื่อคำนวณแล้วมีราคาที่ถูกกว่าผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดเล็ก แต่ในทาง กลับกันหากผลิตภัณฑ์หมดอายุก่อนที่ผู้บริโภคจะบริโภคผลิตภัณฑ์จะทำให้เกิดปัญหาขยะอาหาร มากกว่าการที่ผู้บริโภคเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดเพียงพอต่อความต้องการในการบริโภครวมถึงการ ซื้ออาหารที่ไม่จำเป็นต่อการบริโภคในขณะนั้น เนื่องจากประสงค์จะทดลองสินค้าชนิดใหม่หรือ ต้องการซื้อเพื่อจะกักตุนสินค้าที่มาจากการลดราคาเพื่อจูงใจให้ซื้อผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เหตุเหล่านี้มีส่วน ทำให้เกิดขยะจากอาหารเพิ่มมากขึ้นเพราะเมื่อผู้บริโภคซื้ออาหารมาเป็นจำนวนมากอาจบริโภคไม่ทัน ก่อนวันหมดอายุ หรือกรณีเมื่อได้ทดลองสินค้าแล้วรู้สึกไม่ชอบทั้งที่ยังบริโภคไม่หมดจึงทิ้งอาหารนั้น ไป และรวมถึงการจัดเก็บผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสมส่งผลให้ผลิตภัณฑ์เกิดการเน่าเสียและเสื่อมสภาพ ก็ นับเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การเกิดขยะจากอาหารได้เช่นเดียวกัน (ภัทรานิษฐ์ ศรีจันทราพันธุ์, 2559) การสูญเสียที่ เกิดจากขยะอาหาร ทำให้ส่งผลกระทบต่อการสูญเสียโอกาสการใช้ที่ดินเพื่อ ประโยชน์อื่น ทำให้สูญเสียน้ำ พลังงานและทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดบนโลกไปในกระบวนการผลิต สูญเสียต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการ สูญเสียค่าใช้จ่ายของผู้บริโภค สูญเสียอาหารสำหรับ ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม สูญเสียงบประมาณในการจัดการขยะและทำให้สูญเสียสภาพแวดล้อมที่ดี (สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย, 2544) ผลกระทบจากขยะอาหาร (food waste) ถึงแม้ว่าปริมาณอาหารของแต่ละคนจะไม่มากแต่ถ้า ทุกคนนำกันทิ้งไม่มีการคัดแยก ไม่มีการจัดการที่ดีเพียงพอ ขยะอาหารที่เป็นของธรรมดา ๆ ก็ ก่อให้เกิดผลกระทบในแง่ลบทั้งเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ได้แก่ เกษตรกรมีรายได้ลดลง และผู้บริโภคมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น ในขณะที่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทำให้เกิด

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3