2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์
5 การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเนื่องจากกระบวนการผลิตอาหารจะทำให้มีก๊าซมีเทนเกิดขึ้นและการ ใช้น้ำกับที่ดินอย่างไม่มีประสิทธิภาพ สิ่งสกปรกและแบคทีเรียที่เกิดจากการหมักตัวของขยะมูลฝอยก็ ส่งผลให้เกิดอาการเวียนหัวอาเจียนได้และยังเป็นการขยายตัวของพาหะนำโรค เช่น หนูและแมลงวัน จากกองขยะอาหารที่ไม่ได้ถูกกำจัดทำให้ปริมาณขยะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากขยะปกติบางประเภทเมื่อมี การปนเปื้อนขยะอาหารในปริมาณมาก จึงไม่สามารถที่จะนำมารีไซเคิลใหม่ได้ จำเป็นต้องเข้า กระบวนการกำจัดและรวมถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณของการย่อยสลายขยะที่ ส่ งผลกระทบต่ อสิ่ งแวดล้ อมโดยตรง ในกระบวนการผลิ ตอาหารที่ เกิ ดจากการปล่ อยก๊ าซ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) และไนตรัสออกไซด์ (N2O) ในกรณีพื้นที่การเกษตร มี สาเหตุจากปุ๋ยการเลี้ยงปศุสัตว์ หรือการปลูกข้าว ซึ่งการปลดปล่อยก๊าซต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นส่วน หนึ่งของการก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก นอกจากนี้การผลิตอาหารในภาคการเกษตรบางประเภทยังใช้ ทรัพยากรน้ำเป็นปริมาณมากและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต หากอาหารที่นำมาใช้ บริโภคได้ใช้อย่างฟุ่มเฟือยโดยไม่รู้คุณค่าของอาหารก็จะทำให้ทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตอาหารถู กใช้ ไปอย่างสูญเปล่า อีกทั้ งในกระบวนการกำจัดขยะจากอาหารก็ยังมีผลกระทบต่อสิ่ งแวดล้อม เช่นเดียวกัน (ปาจรีย์ จำเนียรกุล, 2564) องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ประเมินว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากอาหารเหลือทิ้งในโลกนี้ อาจมีปริมาณเทียบได้เท่ากับ 3 ,300 ล้ านตั นคาร์ บอนไดออกไซด์ ต่ อปี (สถาบั นวิ จั ยและพั ฒนาพลั งงาน นครพิ งค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2564) ปัจจุบันโดยปกติแล้วการกำจัดขยะอาหารมีหลายวิธี เราสามารถลดพฤติกรรมการรับประทาน อาหารเหลือด้วยการนำไปบริจาคให้ผู้ยากไร้ เอาไปทำเป็นอาหารสัตว์ เอาไปหมักเพื่อทำเป็นก๊าซหุง ต้ม แปรรูปกลับคืนไปประกอบหน้าดิน หรืออีกหนึ่งวิธีการกำจัดขยะอาหารด้วยวิธีการฝังกลบ (sanitary landfill) เป็นวิธีการกำจัดขยะอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงมากที่สุด เพราะจะเป็นการเพิ่มภาวะ เรือนกระจก จากการย่อยสลายที่จะคายก๊าซมีเทนออกมาจากขยะอินทรีย์ ทำให้เกิดผลกระทบจาก การปลดปล่อยมลพิษทางอากาศที่เรียกว่า ก๊าซฝังกลบ ( landfill gas) ประกอบด้วยก๊าซพื้นฐาน ประเภทก๊าซมีเทนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นส่วนใหญ่ และหากจัดการล้มเหลวก็จะส่งผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนแล้ว ยังเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนด้วย หรือการใช้วิธีกำจัดขยะจากอาหารโดยการเทกองบน พื้น (open dumping) เมื่อปริมาณขยะทับถมเพิ่มมากขึ้นจะส่งกลิ่นเหม็น ก่อแหล่งเพาะเชื้อโรค วิธีการทำลายขยะเศษอาหารส่วนใหญ่ยังคงใช้วิธีการฝังกลบ ซึ่งเป็นการสร้างภาวะเรือนกระจกเพราะ ขยะเศษอาหารผลิตก๊าซมีเทนได้เป็นจำนวนมาก รวมถึงเสี่ยงต่อการปนเปื้อนไปยังแหล่งต่าง ๆ ใน ธรรมชาติ ถึงแม้บางประเทศจะเริ่มมีการจัดการขยะด้วยการใช้เครื่องบดอัดและฆ่าเชื้อ แต่ก็ไม่ใช่ หนทางที่ดีที่สุดที่จะช่วยลดปริมาณขยะลงได้ (Chula Zero Waste, 2018)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3