2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์

6 นอกจากนี้การย่อยสลายของขยะอาหารที่กำจัดด้วยวิธีการเทกองบนพื้นจะกระจายความเน่าเสีย สู่แหล่งน้ำ ทำให้เกิดมลพิษต่อแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่ใกล้กับกองขยะจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยัง ประชาชนในชุมชนที่ใช้น้ำในการอุปโภคและบริโภค อย่างไรก็ดี นอกจากผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่ เกิดจากขยะอาหารแล้วที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ ยังมีผลกระทบทางเศรษฐกิจเพราะ ในแต่ละปีมูลค่าของขยะอาหารที่สูญเสียไปรวมกันแล้วคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนมากแต่ ผู้คนกลับไม่เคยคำนึงถึงมูลค่าดังกล่าว ซึ่งนอกจากการคำนวณมูลค่าผลิตภัณฑ์ที่ต้องสูญเสียไปอย่างไร้ ประโยชน์แล้วยังต้องคำนึงถึงค่าธรรมเนียมในการจัดเก็บขยะที่ต้องจ่ายให้กับหน่วยงานภาคเอกชน หรือหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่เก็บขนขยะเพื่อไปกำจัดประกอบกันด้วย (ปาจรีย์ จำเนียรกุล, 2564) ครัวเรือนเป็นแหล่งกำเนิดที่ผลิตขยะอาหารมากที่สุด โดยในปี ค.ศ. 2019 ดังนั้นปริมาณขยะ อาหารจำนวนมหาศาลที่เกิดขึ้นทุกวันนี้คือผลพวงที่เกิดมาจากพฤติกรรมการบริโภคระดับครัวเรือน โดยตรง ซึ่งมีเส้นทางการเกิดขยะอาหาร (Household Food Waste Journey) ที่เริ่มตั้งแต่ขั้นตอน การวางแผนและซื้ออาหารเข้าบ้านขั้นตอนก่อนการบริโภคขั้นตอนการรับประทานอาหารและสุดท้าย คือขั้นตอนการกำจัดขยะอาหาร ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดขยะอาหารในครัวเรือน คือ การผู้บริโภค ที่ซื้อสินค้าโดยขาดการวางแผนจึงทำให้เกิดพฤติกรรมที่สิ้นเปลืองในการซื้อสินค้าสำหรับอาหารที่ยังไม่ ต้องการใช้เวลานั้นหรือซื้อจำนวนมากเกินความจำเป็นทำให้ไม่สามารถบริโภคได้ทันก่อนวันหมดอายุ หรือการซื้อสินค้าโดยมีกลยุทธ์ทางตลาด ได้แก่ โปรโมชั่น 1 แถม 1 หรือสินค้าที่มีบรรจุขนาดใหญ่ จะ มีราคาถูกกว่าขนาดเล็ก กลยุทธ์เหล่านี้ทำให้เกิดพฤติกรรมที่สิ้นเปลือง และการรับประทานอาหาร อาหารที่เหลือบนจานมักเกิดจากปัจจัยด้านทัศนคติและความชอบอาหารที่แตกต่างกันไปตามศาสนา ความเชื่อ และวัฒนธรรมการรับประทานอาหารในแต่ละครอบครัว รวมทั้งการไม่รับประทานอาหารที่ ซื้อมาก่อน หรืออาหารที่เหลือจากมื้อก่อน จึงทำให้เกิดการเน่าเสียและเกิดเป็นขยะอาหาร (อรสุภาว์ สายเพชร และฆริกา คันธา, 2566) กระบวนการขั้นตอนการแยกขยะ ขยะอาหาร ขยะที่รีไซเคิล รวมถึงขยะมูลฝอยอื่น ๆ ใน ครัวเรือน การจัดการขยะมูลฝอย เป็นการเก็บรวบรวม ขนถ่าย และนำขยะที่เกิดขึ้นจากที่กล่าวมา ข้างต้นไปกำจัดอย่างถูกหลักทางวิชาการ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพอนามัย ของประชาชน โดยหลักการจัดการขยะมูลฝอยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ การเก็บรวบรวมขยะมูล ฝอย การขนส่งขยะมูลฝอยและการกำจัดขยะมูลฝอย 1) การเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยเป็นการนำเอา ขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ มาเก็บรวบรวมไว้ เพื่อนำไปกำจัดต่อไป การเก็บรวบรวม ขยะมูลฝอยเป็นอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ ในพื้นที่นั้น ๆ เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะออกกฎระเบียบ ข้อบังคับ และขอความร่วมมือจากประชาชน ให้ นำขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในแต่ละครัวเรือน แต่ละกิจการ มารวมกันไว้ที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งอาจเป็นระบบถัง ขยะ ถุงขยะ แล้วขนส่งขยะมูลฝอยนำไปกำจัดต่อไป โดยหน่วยงานนั้นจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3