2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์

7 การจัดการขยะมูลฝอยจากแต่ละครัวเรือนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการระบบถังขยะ น้ำมัน เชื้อเพลิงยานพาหนะสำหรับขนส่งขยะเป็นตน 2) การขนส่งขยะมูลฝอย เป็นขั้นตอนในการนำเอาขยะ ที่ประชาชนแต่ละครัวเรือนหรือแต่ละชุมชนมาใส่ในถังขยะมูลฝอย หรือวางไว้ที่หน้าบ้าน แล้ว พนักงานของหน่วยงานมาเก็บรวบรวมใส่รถขนขยะลำเลียงเพื่อนำไปกำจัด ซึ่งถ้าหากระยะทางไม่ไกล กัน ก็มักให้รถขนส่งขยะนำไปยังสถานที่กำจัดโดยตรง แต่ถ้าระยะทางไกลและมีปริมาณขยะมูลฝอย มากอาจจะต้องสร้างสถานีขนถ่าย หรือสถานีพักขยะก่อน เพื่อถ่ายเทจากรถเก็บขนขยะขนาดเล็ก ปานกลาง ใหญ่ สู่รถบรรทุกขนาดใหญ่ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการลดค่าใช้จ่ายอีกอย่างหนึ่งที่ต้องมีการ จัดการเกี่ยวกับการแบ่งเขต เส้นทางการเก็บขนขยะมูลฝอยด้วย 3) การกำจัดขยะมูลฝอยเทคโนโลยี การกำจัดขยะมูลฝอยระบบใหญ่ได้แก่ ระบบหมักทำปุ๋ย เป็นการย่อยสลายอินทรีย์สารขบวนการทาง ชีววิทยาของจุลินทรีย์เป็นตัวการย่อยสลายเพื่อแปรสภาพเป็นแร่ธาตุที่มีลักษณะค่อนข้างคงรูปและ สามารถใช้ในการปรับปรุงคุณภาพดิน ส่วนระบบฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาลเป็นการกำจัดขยะมูล ฝอยโดยการนำไปฝังกลบในพื้นที่ที่ได้จัดเตรียมไว้ซึ้งเป็นพื้นที่ที่ได้รับการคัดเลือกตามหลักวิชาการ ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมวิศวกรรม สถาปัตยกรรม และการยินยอมจากประชาชน และ ระบบการเผาในเตาเผาขยะ เป็นการทำลายขยะมูลฝอยด้วยวิธีการเผาทำลายในเตาเผาที่ได้รับการ ออกแบบก่อสร้างที่ถูกต้องและเหมาะสม โดยต้องให้มีอุณหภูมิในการเผาที่ 850 - 1,200 องศา เซลเซียสเพื่อให้การทำลายที่สมบูรณ์ที่สุด (กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ : กรมอนามัย, Magazine - Detail, 2553) ร า ย ง า น ‘ Driven to Waste: The Global Impact of Food Loss and Waste on Farms’ พบข้อมูลที่น่าสนใจว่า 40% ของอาหารจบลงที่ ‘ถังขยะ’ มากกว่าโต๊ะอาหาร เป็นตัวเลขที่ สูงขึ้นจากเดิมที่คาดการณ์ไว้อยู่ที่ 33% โดยขยะอาหารมีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่กระบวนการผลิต ทั้งใน ฟาร์ม ซุปเปอร์มาร์เก็ต ตลาด มาจนถึงร้านอาหาร คาเฟ่ และโรงแรม ซึ่งรวมแล้วสร้างปริมาณขยะ อาหารมากกว่า 1.2 ล้านตันในทุกปี ขยะอาหารเหลือเกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการทิ้ง อาหารที่จำหน่ายไม่หมดของธุรกิจการค้าในแต่ละวัน อาหารเน่าเสียหรือสูญหายระหว่างขนส่ง หรือ จะเป็นการจัดเตรียมอาหารเพื่อใช้ในงานเลี้ยงต่าง ๆ ที่มากเกินไป โดยไม่ได้คำนึงถึงพฤติกรรมของ ผู้บริโภค หรือแม้แต่ “วัฒนธรรมการกินให้เหลือไว้ในจาน” ซึ่งเป็นการแสดงออกมารยาททางสังคมใน บางประเทศ และยังพบอีกว่า อาหารที่ถูกคัดทิ้ง หรืออาหารเน่าเสียของทุกประเทศรวมกันมีปริมาณ มากพอเลี้ยงปากท้องประชากรทั่วโลกได้อีกจำนวนมาก สำหรับประเทศไทยนั้น กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) รายงานว่า ไทยมีขยะอาหารคิดเป็น 64% ของปริมาณทั้งหมด แต่ยังขาดระบบการคัดแยกขยะ ทำให้ขยะอาหารยังถูกกำจัดโดยวิธีการฝังกลบซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก และลดต้นทุนต่อธุรกิจ แต่ก็ทำ ให้ เกิ ดความสู ญเสี ยทรั พยากรที่ ยั งมี ค่ าโดยเปล่ าประโยชน์ (สำนั กงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2559)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3