2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์

8 ประเทศไทยมีปัญหาที่ไม่สามารถจัดการขยะอาหารได้เพราะว่า มนุษย์ขาดความรู้ เกี่ยวกับ พฤติกรรมการลดขยะ เพราะตกเป็นเหยื่อการตลาดที่จูงใจให้มนุษย์ซื้อสินค้าโดยเกินความจำเป็น เช่น โปรโมชั่น ซื้อ 1 แถม 1 ทั้ง ๆ ที่ผู้ซื้อรู้ดีว่ารับประทานไม่หมดแต่ยอมซื้อเพราะราคาถูก ทำให้ สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและสร้างขยะอาหาร ซึ่งถือได้ว่าเป็นการไม่ตระหนักถึงความพอดี และยังไม่ คำนึงถึงการแบ่งปันอาหารว่ามีความสำคัญต่อการแก้ปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อม เพราะขาด แรงจูงใจให้ประชาชนหรือภาคเอกชนที่จะบริจาคอาหารหรือแนวคิดที่สร้างค่านิยมแบบผิด ๆ ที่คิดว่า อาหารบริจาคไม่สะอาดและปลอดภัยหรือผู้ที่รับบริจาค คือ ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม และมนุษย์ยังขาด ความรู้ในเรื่องการคัดแยกขยะและความตระหนักรู้ในการนำขยะกลับมาใช้ใหม่หรือนำไปใช้ประโยชน์ ด้านอื่น เช่น นำไปผลิตเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพหรือนำไปเป็นพลังงานชีวมวล อีกทั้งเรื่องการจัดการอาหาร ส่วนเกิน คือขาดองค์กรกลาง โดยปัจจุบันมีมูลนิธิรักษ์อาหาร มูลนิธิกระจกเงา หรือมูลนิธิ Thai SOS เท่านั้นที่รับบริจาคอาหารส่วนเกินไปบริจาคแก่ผู้ที่ต้องการ (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.) และส่วนใหญ่ขยะในปัจจุบันเกิดจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของคนในชุมชนรวมทั้ง การดำรงชีวิตในประจำวันและการประกอบการต่าง ๆ แต่วิธีการจัดการขยะที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมุ่งเน้น ไปที่การกำจัดขยะโดยไม่มีการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง ทำให้มีปริมาณขยะเพิ่มขึ้นทุกวันเป็นจำนวนมากที่ จะต้องนำไปกำจัด เนื่องจากการจัดการขยะในปัจจุบันมุ่งเน้นไปที่การกำจัดขยะซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ ปลายเหตุทำให้ไม่สามารถจัดการปัญหาขยะจากชุมชนได้อย่างยั่งยืน (วรรณวรางค์ ศุทธชัยและคณะ, 2562) ปัจจัยสำคัญที่ทำให้บ้านเมืองไม่น่าอยู่เพราะแต่ละพื้นที่ล้วนมีแต่สภาพปัญหาที่เหมือนกัน คือ ปัญหาด้านสภาพแวดล้อมในเรื่องการจัดการขยะถือว่าเป็นปัญหาที่มีความสำคัญและสะท้อนให้เห็น ถึงความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้หน่วยงานภาครัฐเข้ามามี บทบาทในการจัดการขยะซึ่งในเรื่องการจัดการขยะกฎหมายได้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่โดยตรง ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักการกระจายอำนาจจากราชการส่วนกลาง สำหรับการจัดการ ขยะอาหาร มีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คือ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมใน การบริการและการจัดการที่เกี่ยวกับมูลฝอย โดยคำนึงถึงปริมาณ ลักษณะการเก็บ ขน และกำจัดมูล ฝอย ตลอดจนการกำหนดนโยบายตามแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564) (ภัทรานิษฐ์ ศรีจันทราพันธุ์, 2559) ซึ่งจัดทำขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย การจัดระบบบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ พ.ศ. 2557 มีกรอบแนวคิดหลักมุ่งเน้นในการ จัดการเพื่อให้ลดการเกิดขยะมูลฝอยหรือของเสียอันตรายที่แหล่งกำเนิด และการนำของเสียกลับมาใช้ ซ้ำเพื่อใช้เป็นประโยชน์ใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืน ซึ่ง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3