2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์

9 แสดงให้เห็นว่ามีกฎหมายที่เกี่ยวข้องแต่ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับการจัดการขยะอาหาร (กรม ควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2563) จากปัญหาดังกล่าว หลายประเทศได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของปัญหาขยะอาหารจึงมี การออกนโยบายและมาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมและลดปริมาณขยะอาหารและขั้นตอนการ บริหารจัดการอาหารดังกล่าวมาประยุกต์ใช้เพื่อลดปัญหาขยะอาหารทั้งการออกกฎหมาย ควบคุม มาตรการส่งเสริมต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น สาธารณรัฐฝรั่งเศสมีมาตรการทางกฎหมายเพื่อจัดการขยะ อาหารโดยวิธีการทำคู่มือขั้นตอนและวิธีการเพื่อลดปริมาณขยะอาหาร ส่วนสาธารณรัฐประชาชนจีนมี การออกมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการเกิดขยะอาหารและบทลงโทษสำหรับผู้ที่ก่อให้เกิด ขยะอาหาร โดยมีมาตรการทางภาษีมาจูงใจเพื่อให้ลดการเกิดขยะอาหาร (สาคร ศรีมุข, 2564) และ สหรัฐอเมริกามีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีธุรกิจที่ช่วยลดปริมาณการเกิดขยะอาหารโดยวิธีการ บริจาคอาหารส่วนเกินให้กับองค์กรการกุศล มีหน่วยงานหลักดูแลและจัดทำข้อมูลที่เกี่ยวข้องและ คู่มือในการตรวจสอบปริมาณอาหารส่วนเกิน (ชริสา สุวรรณวรบุญ, 2561) สำหรับขยะอาหารในประเทศไทยนั้น ยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในระดับชาติ เกี่ยวกับขยะอาหาร โดยเฉพาะ แม้รัฐบาลได้ยกระดับให้ปัญหาขยะเป็นวาระแห่งชาติก็ตาม แต่ขยะอาหารนั้นเป็นเรื่องที่ คนส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงหรือมองว่าเป็นปัญหาเพราะขาดองค์ความรู้ในการจัดการขยะอาหาร อีก ทั้งไม่มีโครงสร้างพื้นฐานหรือแรงจูงใจในการแยกขยะอาหาร ในขณะที่หน่วยงานภาครัฐไม่ได้จัดเก็บ ข้อมูลขยะอาหารอย่างเป็นระบบจึงทำให้มีข้อมูลไม่เพียงพอในการกำหนดนโยบายเพื่อบริหารจัดการ ขยะอาหาร การจัดการขยะอาหารของประเทศไทยจึงยังเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการจัดการ ขยะ มูลฝอยอื่น ๆ (มนนภา ภู่สมบูรณ์วัฒนา, 2563) ปริมาณขยะมูลฝอย 24.98 ล้านตัน ซึ่งเป็นข้อมูลเชิง สถิติล่าสุดที่เกี่ยวกับขยะอาหารนั้นเป็นข้อมูลจากการรายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2564 โดยขยะอาหารถูกจัดอยู่ในประเภทเดียวกันกับกลุ่มขยะมูลฝอย ประเภทขยะอินทรีย์ และมีสัดส่วนถึงร้อยละ 31 ของปริมาณขยะมูลฝอยที่จัดเก็บได้ในประเทศไทย (กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2564) สำหรับหน่วยงานของรัฐที่ เกี่ยวข้องได้มีการประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้ประชาชนลดขยะที่ แหล่งกำเนิด เพื่อให้ปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัดมีปริมาณน้อยลง โดยระดับภาคครัวเรือนได้ส่งเสริม ให้นำขยะจากอาหารไปเลี้ยงสัตว์ ผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ หรือทำเป็นน้ำหมักชีวภาพปุ๋ยหมักอินทรีย์ เลี้ยงสัตว์ อย่างไรก็ตามในเขตชุมชนเมืองที่มีพื้นที่อยู่อาศัยอย่างจำกัดและมีวิถีชีวิตที่ต้องทำงานนอก บ้าน ซึ่งการส่งเสริมให้นำขยะจากอาหารไปใช้ประโยชน์ อาจยังไม่ได้ผลตอบรับจากประชาชนใน ระดับครัวเรือนเท่าที่ควร เนื่องจากการดำเนินการดังกล่าวต้องมีพื้นที่และใช้ เวลาพอสมควร อีกทั้งมี ขั้นตอนที่ยุ่งยาก กระบวนการผลิตและผลผลิตที่ได้จากปุ๋ยหมักชีวภาพหรือน้ำหมักชีวภาพก็ยังไม่

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3