2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์
10 สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนที่ไม่ได้ทำเกษตรกรรมเป็นหลัก (ภัทรานิษฐ์ ศรีจันทราพันธุ์, 2559) มาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะยังไม่เป็นเอกภาพในการ จัดการ ปัญหาขยะมูลฝอยซึ่งหมายความรวมถึงขยะอาหาร ปัญหาทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 ขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นยังเกิดความไม่สอดคล้องของกฎหมายกับการปฏิบัติงานตามบริบทขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ (ชนิกานต์ บุญยัง, 2565) ประเด็นปัญหาคำนิยามคำว่า มูลฝอย ซึ่งหมายความ รวมถึงเกี่ยวกับเศษอาหาร หรือขยะอาหารและให้อำนาจในการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในเขต ราชการส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ และให้อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการ กำจัดขยะมูลฝอยราชการส่วนท้องถิ่น รวมถึงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการกำจัดขยะ มูลฝอย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าวิธีการกำจัดขยะอาหารยังอยู่ในประเภทเดียวกันกับการกำจัดขยะมูลฝอย ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดให้อำนาจหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการขยะและ ออกข้อกำหนดของท้องถิ่นเพื่อการจัดการขยะเท่านั้น (อรนิชา ยิ่งยง, 2558) และตามพระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องแต่ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะ เกี่ยวกับการจัดการขยะอาหารและหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและมีความทับซ้อนเกี่ยวกับการ จัดการขยะมูลฝอย ส่วนพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของ บ้านเมือง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ซึ่งถือได้ว่าเป็นการกำหนดห้าม เพื่อบังคับไม่ให้บุคคลกระทำการทิ้งขยะมูลฝอยซึ่งคำว่ามูลฝอยนี้หมายความรวมถึงขยะอาหารซึ่งอยู่ ในประเภทเดียวกันด้วย ซึ่งเห็นได้ว่าการจัดการขยะอาหารของประเทศไทยนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของ การดำเนินการจัดการขยะมูลฝอยประเภทอื่น ๆ ซึ่งมาตรการทางกฎหมายในการจัดการขยะมูลฝอย ปัจจุบันมุ่งเน้นการจัดการขยะที่เป็นการกำจัดปัญหาที่ปลายเหตุ และเป็นกฎหมายที่มุ่งเน้นการ ควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง โดยไม่ครอบคลุมกระบวนการจัดการบริหารขยะมูลฝอยทั้งระบบ (ชริสา สุวรรณวรบุญ, 2561) ด้วยเหตุที่กล่าวมาข้างต้น จึงเห็นได้ว่า มาตรการทางกฎหมายที่ ใช้บังคับในปัจจุบันยังไม่ ครอบคลุมการจัดการปัญหาขยะทั้งระบบและยังขาดความชัดเจนในการจัดการขยะมูลฝอยแต่ละ ประเภท ซึ่งรวมถึงขยะอาหาร เพราะการกำจัดขยะอาหารยังเป็นวิธีการกำจัดแบบเดียวกันกับการ กำจัดขยะมูลฝอย ซึ่งถือได้ว่ามีช่องว่างของกฎหมายในการจัดการขยะโดยที่ กฎหมายซ้ำซ้อน ทับซ้อน และยุ่ งยากในการบังคับใช้ เพราะมีกฎหมายหลายฉบับและกฎหมายไม่สมบูรณ์ ไม่ชัดเจน ไม่ ครอบคลุมการจัดการขยะในทุกขั้นตอน ประชาชนมีส่วนสำคัญที่สุดในการจัดการ ซึ่งแต่ละฉบับอยู่ใน ความรับผิดชอบของหน่วยงานที่ต่างกันและมีวัตถุประสงค์ในการบังคับใช้ที่แตกต่างกัน โดยมีการ กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแยกจากกัน วิธีการดำเนินงานหรือแนวทาง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3