2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์
11 ปฏิบัติแตกต่างกัน เกิดปัญหาซ้ำซ้อนกันในด้านภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับหน่วยงาน อื่น ทำให้ผู้ที่มีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายต้องอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายหลายฉบับ และเมื่อทางภาครัฐ มีการมอบนโนบายหรือมาตรการด้านการจัดการขยะมูลฝอยให้จังหวัดไปปฏิบัติ ทำให้เกิดปัญหาใน การดำเนินการตามนโยบาย มาตรการและแผนงานอาจไม่ประสานสอดคล้องกับแนวทางการ ดำเนินการทางกฎหมายที่กำหนดไว้นอกจากนี้ยังมีปัญหาทางด้านโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น บุคลากร งบประมาณ และอุปกรณ์ การดำเนินการส่วนใหญ่มีลักษณะต่างคนต่างทำ การ จัดสรรงบประมาณจากส่วนกลางมีจำกัดและไม่ต่อเนื่อง (ยุวดี มัญติยาการกุล, 2564) เพราะกฎหมาย มุ่งไปที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ไม่ได้พูดถึงหน้าที่ประชาชน เช่น ต้องคัดแยกขยะ หรือ ส่งมอบ ขยะให้ถูกต้องตามที่กำหนด ในหลายประเทศที่มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ผู้ผลิตสินค้าในการ คำนึงถึงว่าเมื่อเป็นขยะจะเป็นอย่างไร แต่กฎหมายไทยยังไม่เป็นอย่างนั้น แต่เน้นให้ท้องถิ่นจัดการทำ ให้ปลายทางเป็นเรื่องใหญ่ในการจัดการจึงทำให้การขาดองค์กรกลไกในการบริหารจัดการขยะแบบ บูรณาการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่มีช่องทางในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะ มากเท่าที่ควรเพราะการกำหนดให้ท้องถิ่นรับผิดชอบการจัดการขยะชุมชน ซึ่งอาจมีปัญหาในองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดเล็กหรืองบประมาณน้อย ไม่สามารถจัดการขยะบางอย่างได้ ขณะที่ กฎหมายให้อำนาจกับองค์กรปกครองท้องถิ่นเกินไป เนื่องจากขยะเป็นเรื่องยากและใช้งบประมาณ ขยะอาหารต้องอาศัยความร่วมมือประชาชนและต้องเปลี่ยนพฤติกรรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หลายแห่งยินดีกำจัดขยะแต่ไม่มีพื้นที่และงบในการสร้างระบบกำจัดขยะ (ทีมข่าวคุณภาพชีวิต, 2564) การกำจัดขยะนั้นเป็นการเน้นการจัดการขยะมูลฝอยที่ปลายเหตุ คือ การกำจัดขยะมากกว่า วิธีการจัดการขยะที่ต้นเหตุหรือวิธีการลดปริมาณขยะ แม้ว่าในภายหลังรัฐบาลจะมีการกำหนดการ จัดการขยะมูลฝอยเป็นวาระแห่งชาติและมีการกำหนดนโยบายแบบการจัดการขยะที่ครอบคลุมการ จัดการขยะแบบครบวงจรโดย อาศัยหลัก 3 Rs เน้นการลดการเกิดขยะตั้งแต่ต้นทาง การนำกลับไปใช้ ซ้ำ และการใช้ประโยชน์จากขยะด้วยการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ แต่ปริมาณการเกิดขยะมูลฝอย ของประเทศไทยยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แสดงให้เห็นว่า ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนและ ภาคเอกชนในการลดปริมาณขยะ นอกจากนี้รัฐยังไม่มีการกำหนดนโยบายสำหรับการจัดการขยะ อาหารโดยเฉพาะ ถึงแม้ว่าปริมาณขยะอาหารจะมีจำนวนมากที่สุดจากปริมาณขยะมูลฝอยที่จัดเก็บได้ ก็ตาม ถึงแม้กฎหมายจะกำหนดอำนาจหน้าที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอย แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากภาครัฐเน้นการลงทุนด้านการกำจัดขยะมากกว่า นโยบายการลดปริมาณการเกิดขยะ รวมทั้งมิได้กำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะแต่ อย่างใด ดังนั้นในการเก็บรวบรวมคัดแยก เก็บ ขน และกำจัดขยะ จึงเป็นหน้าที่ขององค์กรปกครอง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3