2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์

12 ส่วนท้องถิ่นเท่านั้น ซึ่งทำให้ปริมาณขยะมูลฝอยของประเทศไทยยังคงเพิ่มมากขึ้นทุกปี แม้ว่าปัจจุบัน จะได้มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในการกำจัดขยะด้วยการแปรรูปพลังงานขยะเป็นพลังงาน ไฟฟ้าก็ตามแต่ก็เป็นวิธีการที่มีค่าใช้จ่ายสูง อีกทั้งการกำจัดขยะอาหารด้วยวิธีการต่าง ๆ นั้นเป็นการ แก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น แม้ในปัจจุบันจะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหาขยะหลาย ฉบับ แต่กฎหมายดังกล่าวไม่ครอบคลุมการจัดการขยะอาหารทั้งระบบและไม่สามารถสร้างแรงจูงใจ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลดปริมาณขยะและขยะอาหารลงได้ อีกทั้งประเทศไทยยังไม่มีการนำ มาตรการทางภาษีมาใช้เพื่อจัดการปัญหาขยะอาหาร ดังนั้นการแก้ไขปัญหาขยะอาหารตั้งแต่ต้นทาง โดยการลดการเกิดขยะอาหารต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยสร้างแรงจูงใจจึงเป็น ทางออกที่ดีที่จะทำให้ปริมาณขยะอาหารลดน้อยลง อย่างไรก็ดี จึงควรมีการกำหนดมาตรการทางกฎหมายในการจัดการขยะอาหาร เนื่องจาก ประเทศไทยยังมีการดำเนินการเพื่อบริหารจัดการปัญหาขยะอาหารอยู่ในระดับที่น้อย เพราะยังขาด มาตรการควบคุมด้านกฎหมาย ขาดแรงจูงใจทางด้านภาษีแก่ผู้ประกอบการในการบริจาคอาหารและ นวัตกรรมที่จะนำมาใช้ในการลดปริมาณขยะอาหาร โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมโดยการสร้าง แรงจูงใจการนำมาตรการทางภาษีมาบังคับใช้ในการจัดการขยะตั้งแต่ในครัวเรือนซึ่งเป็นต้นทางของ การเกิดขยะอาหาร โดยกำหนดเป็นมาตรการทางกฎหมายเพื่อให้มีสภาพบังคับให้ต้องปฏิบัติตามนั้น จึงเป็นทางออกที่จะทำให้การจัดการขยะอาหารเกิดประสิทธิผลที่ดีสามารถแก้ไขปัญหาขยะอาหารได้ อย่างยั่งยืน 1.2 วัตถุประสงค์การวิจัย 1.2.1 เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดการขยะอาหาร (Food waste) 1.2.2 เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการจัดการขยะอาหาร 1.2.3 เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาแนวทางในการจัดการขยะอาหาร มาตรการในการป้องกันใน การจัดการขยะอาหาร 1.2.4. เพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายแก้ไขปัญหาในการจัดการขยะอาหาร 1.3 คำถามวิจัย มาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมกับการจัดการขยะอาหารควรเป็นอย่างไร 1.4 สมมติฐานการวิจัย ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีวิธีการจัดการขยะอาหารที่ถูกต้อง มาตรการทางกฎหมายในการ จัดการขยะในประเทศไทยที่มีในปัจจุบันยังไม่เพียงพอที่จะนำมาจัดการปัญหาขยะ เนื่องจากกฎหมาย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3