2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การทบทวนเอกสารและงานวิจัยเรื่องมาตรการทางกฎหมายในการจัดการขยะอาหาร ( Food waste) ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 2.1 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการขยะอาหาร (Food waste) 2.2 แนวคิดการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม 2.3 แนวคิดเรื่องบทบาทอำนาจหน้าที่ในการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2.4 ทฤษฎีการมีส่วนร่วมของประชาชน 2.5 หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2.6 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 2.7 กฎหมายต่างประเทศ และกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง 2.8 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการขยะอาหาร (Food waste) จากข้ อมู ลองค์ กา รอาหา รและ เ กษตรแห่ งสหประชาชาติ ( Food and Agriculture Organization หรือ FAO) ชี้ให้เห็นว่าการจำแนกเหตุของการสูญเสียอาหารและวิธีการป้องกันการ สูญเสียอาหารพบว่า หนึ่งในสามของอาหารทั่วโลกที่ผลิตขึ้นเพื่อการบริโภคของคนสูญเสียและ กลายเป็นเศษอาหารที่มีน้ำหนักราว 1.3 พันล้านตันต่อปีนั่นย่อมหมายถึง ทรัพยากรจำนวนมหาศาลที่ ใช้ในการผลิตอาหารได้ถูกทิ้งขว้างรวมทั้งการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมหาศาลจากการผลิต อาหารได้สูญเสียไปโดยไร้ประโยชน์และไม่คุ้มค่ากับความเสียหายที่จะส่งผลต่อโลกของเราในอนาคต ในขณะที่ประชากรโลกหลายล้านคนยังคงประสบภาวะขาดแคลนอาหาร ซึ่งส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ สร้างปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม และยังแสดงให้เห็นถึงการนำทรัพยากรจำนวนมากมาใช้ในการผลิตอย่าง ไม่เหมาะสม (Food and Agriculture Organization of the United Nation FAO, 2020) ขยะอาหารเป็นส่วนหนึ่งของประเภทขยะมูลฝอยซึ่งแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ สามารถแยก ประเภทของมูลฝอยได้หลายประเภท ซึ่งการจำแนกประเภทของมูลฝอยนั้นมีประโยชน์ในการคัดแยก การเก็บรวบรวม ขนส่ง และการกำจัดมูลฝอยอย่างเหมาะสมการแยกประเภทมูลฝอยของกรมการ ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แบ่งประเภทไว้ดังนี้ จำแนกตามพิษภัยที่เกิดขึ้นกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มี 2 ประเภท คือ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3