2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์
17 9. วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง 10. วัตถุอย่างอื่นที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรืออาจทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืชหรือทรัพย์ เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ถ่านไฟฉายหรือ แบตเตอรี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ ภาชนะที่ใช้บรรจุสารกำจัดแมลงหรือวัชพืช กระป๋องสเปรย์บรรจุสีหรือ สารเคมี เป็นต้น ถังรองรับมูลฝอยอันตราย คือ ถังสีส้มหรือถังสีเทาฝาส้ม (สำนักจัดการกากของเสีย และสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ, 2551) ขยะอาหารที่จะศึกษานี้เป็นขยะที่อยู่ในประเภทขยะมูลฝอยอินทรีย์ ที่สามารถย่อยสลายได้ ซึ่ง รวมทั้งส่วนที่กินได้และกินไม่ได้ ขยะอาหาร (Food Waste) คืออาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งส่วนของ อาหารที่กินไม่ได้ (Inedible Parts) ที่ถูกทิ้งในช่วงท้ายของห่วงโซ่อุปทานอาหารของมนุษย์ขยะอาหาร นั้นเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตและจำหน่ายในร้านค้าปลีกและภาคบริการด้านอาหารการบริโภค ทั้งในครัวเรือนและนอกครัวเรือนจนถึงขั้นตอนการกำจัดสุดท้าย “ส่วนของอาหารที่กินไม่ได้” คือ ส่วนประกอบของอาหารที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการบริโภคของมนุษย์ เช่น กระดูก เปลือก เป็นต้น (ไม่รวมบรรจุภัณฑ์) โดยส่วนที่กินไม่ได้นี้จะมีความแตกต่างกันไปตามกลุ่มผู้บริโภคซึ่งอาจมีการ เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของภูมิอากาศ ฤดูกาล และพฤติกรรมทางเศรษฐกิจสังคม วิถีชีวิตตอดจน อุปนิสัยและแบบแผนในการบริโภคของแต่ละชุมชน โดยทั่วไปมีองค์ประกอบแตกต่างกันไป รวมถึง ความเป็นอยู่ราคาของสินค้าอาหาร การค้าระหว่างประเทศ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (อร สุภาว์ สายเพชร และฆริกา คันธา, 2566) 2.1.1 นิยามของขยะอาหาร องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ให้คำจำกัดความของขยะ อาหาร ได้แก่ ขยะอาหาร(Food waste) และการสูญเสียอาหาร (Food loos) ไว้ดังนี้(Food and Agriculture Organization of the United Nation หรือ FAO,2020) ขยะอาหาร (Food waste) หมายถึง อาหารเหลือทิ้งในตอนปลายของห่วงโซ่อาหาร (Food Chain) จากทั้งในส่วนของผู้ค้าปลีกและผู้บริโภคหรือเศษอาหารที่ไม่สามารถนำมาบริโภคต่อ ได้ อาจเป็นสิ่งที่เหลือจากการบริโภค ทั้งเศษอาหารที่รับประทานไม่หมด อาหารกระป๋องที่หมดอายุ เศษผักผลไม้ตกแต่งจาน รวมไปถึงอาหารเน่าเสีย และหมดอายุจากการบริหารจัดการที่ไม่เหมาะสม ของร้านอาหาร ภัตตาคาร และร้านสะดวกซื้อต่าง ๆ (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ ไอ), 2560) การสูญเสียอาหาร (Food Loss) หมายถึง ส่วนของอาหารที่หลุดออกจากห่วงโซ่การผลิต เพราะไม่ได้มาตรฐาน ตั้งแต่ในขั้นตอนของการเพาะปลูก เก็บเกี่ยวผลผลิต การแปรรูป รวมถึงระหว่าง การขนส่งไปยังเป้าหมายปลายทางหรือว่าระหว่างการผลิตจนถึงร้านค้า โดยอาจจะเป็นผลจากปัญหา ก่อนการเก็บเกี่ยว เช่นการระบาดของศัตรูพืช ปัญหาระหว่างการเก็บเกี่ยว การจัดเก็บ การบรรจุ หรือ ขนส่ง การสูญเสียอาหารในลักษณะนี้ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในประเทศที่ยังไม่พัฒนา เนื่องจากการขาด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3