2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์
18 แคลนคลังความรู้ งบประมาณ และเทคโนโลยีการจัดการต่าง ๆ ที่สามารถช่วยยกระดับประสิทธิภาพ ของการผลิต เก็บรักษา และการขนส่ง (คัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ และณภัทร ดนัย, 2565) อย่างไรก็ตาม ความหมายระหว่างขยะอาหารและการสูญเสียอาหารนั้น ไม่สามารถแยก ได้อย่างชัดเจนทั้งหมด เนื่องจากทั้งขยะอาหารและการสูญเสียอาหารนั้นมีบางส่วนที่ทับซ้อนกัน และ ท้ายที่สุดแล้วก็ก่อให้เกิดผลเช่นเดียวกันคือขยะอาหาร กล่าวโดยสรุป อาหารที่ผลิตเสร็จแล้วและยังมี คุณภาพเพียงพอที่จะรับประทาน แต่ผู้บริโภค ผู้ค้ารายย่อย ผู้ค้าปลีกเลือกที่จะไม่นำมาบริโภคและทิ้ง ให้เน่าเสียหรือไม่ได้ใช้ประโยชน์ใด ๆ ซึ่งเกิดได้หลายสาเหตุส่งผลให้เกิดการสูญเสียอาหารและ กลายเป็นขยะไปในที่สุด 2.1.2 สาเหตุของการเกิดขยะอาหาร สถานการณ์ปัญหาขยะอาหารเริ่ มกลายเป็นประเด็นใหญ่ทั่ วโลก เมื่ อเทคโนโลยี ความก้าวหน้าในอุตสาหกรรมกำลังทำลายความสมดุลของสิ่งแวดล้อม และสร้างขยะอย่างมหาศาลที่ กลายเป็นประเด็นสำคัญที่ทุกคนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา และที่สำคัญคนส่วนใหญ่มองไม่ เห็นหรือมองข้ามปัญหาขยะอาหารนั้น เพราะยังไม่เข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น จากการเทอาหารใน จานทิ้งลงถังขยะ อาหารที่เหลือจากการบริโภคทั้งในครัวเรือน อาหารที่เหลือจากการจำหน่ายใน ร้านค้าปลีก อาหารบุฟเฟต์และอาหารที่ใช้เพื่อปรุงแต่งจานในร้านอาหารหรือโรงแรม ขยะที่สร้างขึ้น ในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม จากกระบวนการผลิตที่มีวัตถุดิบเหลือใช้ และการจัดเก็บวัตถุดิบ ที่ไม่ดีทำให้เกิดการเน่าเสียและถูกทิ้ง สร้างมลพิษที่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการสร้าง แก๊สเรือนกระจก อย่างเช่น แก๊สมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ (superadmin, 2564) ขยะอาหารสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกขั้นตอนของห่วงโซ่อุปทานอาหาร ตั้งแต่ขั้นตอนแรก ของการผลิตอาหารจนถึงการบริโภคขั้นสุดท้ายในครัวเรือน ขยะอาหารในขั้นตอนแรกของการผลิตมัก เกิดในประเทศกำลังพัฒนาซึ่งขาดแคลนเทคโนโลยีที่ช่วยในการรักษาประสิทธิภาพของการผลิต อาหาร (NGThai, 2562) การสูญเสียอาหารที่ถูกทิ้งในประเทศรายได้ต่ำมาจากปัญหาการเงิน การ จัดการและขีดจำกัดด้านเทคนิค ได้แก่ เทคนิคการเก็บเกี่ยว การเก็บรักษา อุปกรณ์รักษาความเย็นใน สภาวะอากาศร้อน ปัจจัยพื้นฐานการบรรจุหีบห่อและระบบการตลาด (เยาวดี คุปตะพันธ์, 2556) สาเหตุหลักของการเกิดขยะอาหารทั่วโลก คือ การจัดการที่ขาดประสิทธิภาพของร้านค้า ปลีก และพฤติกรรมฟุ่มเฟือยของผู้บริโภค ซึ่งเกี่ยวโยงถึงการวางแผนจัดเตรียมอาหารและสินค้าที่ไม่ เหมาะสม การทิ้งอาหารที่ยังรับประทานได้ และการซื้ออาหารเกินความจำเป็น หรือขาดความเข้าใจ หรือสับสนต่อวันหมดอายุบนฉลากสินค้า อย่างเช่น สัญลักษณ์ “ควรบริโภคก่อน” (Best By/Before, BB) ที่หมายถึง อาหารจะมีคุณภาพหรือคุณค่าทางโภชนาการลดลงหลังผ่านวันที่ระบุไว้บนฉลาก ซึ่ง ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค กับ “วันหมดอายุ” (Expiry Date, EXP) หมายถึงอาหารที่ห้ามบริโภค
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3