2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์

20 2) การขาดความเข้าใจในอายุการเก็บรักษาอาหารบนฉลากสินค้า ผู้บริโภคบางรายไม่ เข้าใจหรือสับสนเกี่ยวกับอายุการเก็บรักษาของอาหารระหว่าง วันหมดอายุ (Expiry Date) และควร บริโภคก่อน (Best Before) ส่งผลให้ตัดสินใจทิ้งอาหารที่ยังมีคุณภาพที่จะบริโภคได้ก่อนวันหมดอายุ 3) ความหลากหลายของสินค้าอาหารที่มากเกินความจำเป็นรวมทั้งขนาดของบรรจุภัณฑ์ ที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งดึงความสนใจจากผู้บริโภค เมื่อคำนวณราคาและปริมาณแล้วถูกกว่าขนาดบรรจุ ภัณฑ์ขนาดเล็กหรือพอดี จนเป็นสาเหตุทำให้ไม่สามารถบริโภคได้หมดก่อนอาหารจะถึงกำหนดวัน หมดอายุหรือเน่าเสีย 4) การจัดเก็บอาหาร ในแต่ละสภาพแวดล้อม ภูมิอากาศ ความชื้น แสง อุณหภูมิที่ไม่ เหมาะสมส่งผลต่อการเน่าเสียของอาหาร 5) ขาดทักษะและความรู้ในการจัดเตรียม การปรุงอาหาร การคำนวณปริมาณอาหารที่ เหมาะสม พอดีกับจำนวนสมาชิกในครอบครัว 6) การละเลยหรือมองข้ามที่จะรับประทานอาหารที่ซื้อในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกัน จะ ทำให้อาหารที่ซื้อมาก่อนเน่าเสีย และต้องทิ้งเป้นขยะไปในที่สุด 7) แนวโน้มของสภาพเศรษฐกิจและสังคม ความอุดมสมบูรณ์และความต้องการของ ผู้บริโภคที่มากเกินพอดี การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคตามสภาพรายได้และสภาพสังคมที่ สมาชิกในครอบครัวต้องทำงานนอกบ้านเพิ่มมากขึ้นส่งผลต่อการจัดการอาหารในครัวเรือน 8) การเปลี่ยนแปลงทางประชากรศาสตร์ จากครอบครัวขยายเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ก็จะทำให้ปริมาณขยะอาหารเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากขาดโอกาสในการแบ่งปันอาหารระหว่างคนใน ครอบครัว การขาดประสบการณ์ในการวางแผนและเตรียมอาหาร รวมถึงไม่มีทักษะในการจัดการ ปัญหาจากขยะอาหาร 9) แนวคิดบางประการของผู้บริโภค เช่น การคิดเผื่อเหลือเผื่อขาด,ความเชื่อว่าเหลือ ดีกว่าขาด,โยนทิ้งถูกกว่าการนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งแนวคิดต่าง ๆ ข้างต้นทำให้ผู้บริโภคซื้อหรือเตรียม อาหารมากเกินความจำเป็นส่งผลให้เกิดขยะอาหารเพิ่มมากขึ้น 10) การกำหนดมาตรฐานอาหารที่สูงเกินไปทั้งในด้านน้ำหนัก ขนาด รูปร่างและสี ทำให้ อาหารที่ยังมีคุณภาพที่จะบริโภคได้ แต่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานดังกล่าวถูกคัดเลือกทิ้งไป พฤติกรรมของผู้บริโภคในการกักตุนอาหาร การซื้ออาหารเพียงเพราะโฆษณา หรือเพื่อ ลองบริโภคสินค้าอาหารชนิดใหม่มักจะก่อให้เกิดขยะอาหารมากขึ้นเช่นกัน เนื่องจากสินค้าอาหาร จำนวนมากที่ที่กักตุนไว้เน่าเสียก่อนการบริโภคหรือผู้บริโภคไม่ชอบ นากจากนี้ ในบางสังคมมี วัฒนธรรมการบริโภคที่ต้องเหลืออาหารทิ้งไว้ในจานเพื่อเป็นมารยาท ทำให้เกิดขยะอาหารจำนวนมาก (สาคร ศรีมุข, 2564)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3