2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์

21 จากสาเหตุสำคัญๆ ดังกล่าวข้างต้นส่งผลให้เกิดปัญหาขยะอาหารได้เกิดขึ้นทุกขั้นตอนของ ห่วงโซ่ของการผลิตอาหารและผลกระทบในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ ของที่เหลือ ทิ้งเหล่านี้ยังหมายรวมถึงทรัพยากรธรรมชาติทุกอย่างที่ใช้ในการปลูก การดำเนินการ การบรรจุ การ ขนส่ง และตลาดที่เป็นทางผ่านของอาหารทั้งหมดจนกระทั่งถูกทิ้ง ยิ่งไปกว่านั้น อุตสาหกรรมอาหาร ยังมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึง 25% ของโลก ปล่อยมลพิษมากถึง 3.3 กิกะตันต่อปี ซึ่ง หากสมมติว่าอุตสาหกรรมอาหารคือประเทศ นั่นแปลว่าประเทศนี้ปล่อยมลพิษมากเป็นอันดับสาม ของโลกเลยทีเดียว ดังนั้นจึงเป็นประเด็นที่องค์กรและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจและ หาแนวทางในการแก้ไขปัญหา (BUREAU VERITAS, 2021) 2.1.3 สถานการณ์ขยะอาหาร องค์การอาหารและเกษตรสหประชาชาติประเมินว่าทั่วโลกผลิตขยะอาหารอย่างน้อย 30% จากอาหารทั้งหมด หรือคิดเป็นมูลค่าราว ๆ 940 ล้านล้าน ดอลลาร์สหรัฐ ต่อปี โดยทั่วไปแล้ว คำว่าขยะอาหาร เป็นคำที่เข้าใจได้ว่า คือเศษอาหารที่เหลือจากมื้ออาหารในบ้าน รวมถึงอาหารที่หลุด ออกจากห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่ผลผลิตที่หลุดจากเกษตรกรรม จากโรงงาน ระหว่างขนส่ง ไปจนถึงใน ห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ผู้เชี่ยวชาญที่ดูแลภาพรวมของประเด็นขยะอาหารนั้นเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นว่า การ สูญเสียอาหารและขยะอาหาร (FLW : food loss and waste) ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับการสูญเสียอาหาร และขยะอาหารนั้นไม่สามารถที่จะระบุตัวเลขได้อย่างแน่ชัด (Éric Darier & Monique Mikhail, 2022) ในความเป็นจริง โลกของเรามีทรัพยากรเพียงพอที่จะผลิตอาหารให้แก่มนุษย์ทุกคน แต่ใน ปัจจุบันมีอาหารมากถึง 1 ใน 3 ส่วนของอาหารที่ผลิตได้ทั้งหมดถูกทิ้งกลายเป็น “ขยะอาหาร” โดยคิด เป็นน้ำหนักกว่า 1.3 พันล้านตันทั่วโลกทุกปี เป็นอาหารที่สูญเปล่าไปแทนที่จะถูกนำไปเลี้ยงดูผู้คนที่ ขาดแคลนในประเทศต่าง ๆ ซึ่งสถานการณ์ปริมาณขยะอาหารในแต่ละภูมิภาคของโลกแตกต่างกัน ออกไปตามปัจจัยการผลิต การจัดการภายในห่วงโซ่อาหาร และพฤติกรรมของผู้บริโภค ยกตัวอย่าง กรณีต่าง ๆ ดังนี้ ปริมาณขยะอาหารในประเทศสหรัฐอเมริกา ปริมาณขยะอาหารมากกว่าร้อยละ 80 ของ ปริมาณขยะอาหารมาจากภาคครัวเรือน ไม่ใช่ร้านอาหารหรือการจัดการของร้านสะดวกซื้อ หน่วยงาน ด้านอาหารของสหรัฐอเมริกา คาดการณ์ว่า ชาวอเมริกันทิ้งอาหารที่ยังสามารถรับประทานได้เฉลี่ยคน ละ 0.4 กิโลกรัมต่อวัน โดยมีสาเหตุจากซื้ออาหารมาเยอะเกินความจำเป็น สับสนข้อมูลวันหมดอายุ หรือแม้แต่รูปร่างของอาหารไม่สวยงาม เช่น ผักผลไม้ที่มีรูปร่างไม่สมส่วน ส่งผลให้ผักผลไม้จากฟาร์ม ต่าง ๆ ในประเทศไม่สามารถขึ้นไปอยู่บนชั้นวางสินค้าได้ เพราะขนาดหรือรูปลักษณ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งในสุดผักผลไม้เหล่านี้ล้วนถูกทิ้งลงในถังขยะและจะกลายเป็นขยะอาหาร (RACHAEL JACKSON, 2019)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3