2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์

22 ประเทศฝรั่งเศส เป็นประเทศต้นแบบของการจัดการกับขยะอาหารที่มีประสิทธิภาพ จาก กฎหมายว่าด้วยการต่อต้านขยะอาหารที่การกำหนดให้ร้านค้าปลีกที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 400 ตารางเมตรขึ้น ไป บริจาคสินค้าอาหารที่ยังรับประทานให้แก่มูลนิธิรับบริจาคอาหารต่าง ๆ ซึ่งหากร้านค้าเหล่านี้ ไม่ ดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว มีโทษปรับเป็นจำนวนเงินสูงถึง 125,000 บาท ในขณะเดียวกันผู้ บริจาคจะได้รับเครดิตภาษีสูงถึงร้อยละ 60 ของมูลค่าอาหารที่บริจาคอีกด้วย ทำให้ในประเทศมีการ บริจาคอาหารเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30 ในปี 2017 และยังทำให้มีองค์กรกลางเข้ามาบริหารจัดการกับ อาหารส่วนเกินเหล่านี้ อีกกว่า 5,000 องค์กร (คัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ และณภัทร ดนัย, 2565) ประเทศไทยไม่เคยมีการเก็บปริมาณขยะอาหารที่ชัดเจนจึงมักยึดตัวเลขขยะอินทรีย์ซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นขยะอาหารมาอนุมานแทน แต่ประชากรในประเทศไทยมีการสร้างขยะมูลฝอยเฉลี่ยคน ละ 1.3 กิโลกรัมต่อวัน โดยที่ร้อยละ 64 ของขยะทั้งหมดเป็นขยะอาหาร ปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้น ในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2562 ประมาณ 28.71 ล้านตัน มีการกำจัดขยะมูลฝอยอย่างไม่ถูกต้อง 6.38 ล้านตัน และสามารถคำนวณปริมาณขยะอาหาร โดยประมาณจากข้อมูลปริมาณขยะมูลฝอย ชุมชนได้ โดยได้ศึกษาข้อมูลองค์ประกอบขยะมูลฝอย สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง พบว่ามีสัดส่วนขยะอาหารอยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 33 ถึงร้อยละ 50 หรือประมาณ 9.47 ล้านตัน ถึง 14.35 ล้านตัน (กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2562) อีกทั้ง การ ขาดประสิทธิภาพในการจัดการกับปัญหาขยะเหล่านี้อย่างเหมาะสม ทำให้ขยะอาหารราว 20 ล้านตัน ต่อปีของไทยกลายเป็นขยะตกค้างที่ถูกนำไปฝังกลบอย่างมักง่าย ขณะที่นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าช่วยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกาศว่า ประเทศไทยอยู่ในช่ วง เริ่มต้นการดำเนินงานเก็บข้อมูลและจัดการเรื่องการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร โดยบรรจุเรื่อง ปัญหาขยะอาหารไว้ในแผนขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน พ.ศ. 2560 -2579 มีเป้าหมาย ลดขยะอาหารให้ได้ 5% ต่อปี แต่ปัญหาในการจัดการขยะอาหารของไทยไม่ใช่แค่เพียงวิธีจัดการขยะ ทั่วไป ยังรวมถึงวิธีทิ้งขยะของคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้แยกขยะทิ้งตามสีถัง สีน้ำเงิน-ขยะทั่วไป สีแดง- ขยะอันตราย สีเหลือง-ขยะรีไซเคิล และสีเขียว-เศษอาหาร/ขยะเปียก (คัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ และณ ภัทร ดนัย, 2565) คุณโบ ดวงพร ทรงวิศวะ เชฟจากร้านอาหารไทย ‘โบลาน’(2018) เล่าว่า หลังจากคลุกคลี ในวงการอาหารมานาน พบว่ามี ‘อาหารเหลือ’ (Food Waste) จากระบบการผลิตและการขนส่ง จำนวนมาก จึงพยายามมองหาวิธีการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดยนำวิถีการบริโภค อาหารพื้นถิ่นมาใช้ควบคู่รวมถึงการกำจัดขยะที่เกิดจากอาหารให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดและสามารถ ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม “เราอยากสร้างความตระหนักรู้ให้คนกลับมาฉุกคิด และหันมาใส่ใจกระบวนการบริโภคอย่างรับผิดชอบ ทำให้งานนี้ได้เกิดการพูดคุยที่ครอบคลุมทุกแง่มุม ของการบริโภค ตั้งแต่สิ่งแวดล้อมของวัตถุดิบ เทคนิคการทำเกษตรกรรมและการประมงแบบยั่งยืน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3