2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์
23 การใช้วัตถุดิบและผลิตผลในท้องถิ่น ไปจนถึงการจัดการกับขยะจากทุกกิจกรรม เพื่อให้ได้ใช้ ประโยชน์ของทรัพยากรนั้น ๆ อย่างสูงสุด” (ThaiHotelBusiness.com, 2561) นอกจากนี้ อาหารและวัตถุดิบหลายๆ ชนิดยังถูกทิ้งเป็นขยะเพียงเพราะหน้าตาไม่สวย และไม่ได้มาตรฐานในการจำหน่าย โดยในทุก ๆ ปี ปริมาณอาหารที่ต้องทิ้งจากทั่วโลกมีพื้นที่คิดเป็น ถึง 2 เท่าของประเทศไทย ดังนั้น ผู้เกี่ยวข้องกับปัญหานี้มากที่สุดซึ่งอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมท่องเที่ยว บริ การ และอาหาร ต้องเร่ งเพิ่ มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการอาหารเหลื อมากกว่ านี้ (ThaiHotelBusiness.com, 2561) 2.1.4 ปัญหาและผลกระทบจากขยะอาหาร สถานการณ์อาหารโลกในภาพรวมยังมีประชากรในบางประเทศอดอยาก หรือกล่าวได้ว่ามี ประชากรของโลกกว่า 800 ล้านคน ที่ยังประสบสภาวะการขาดแคลนอาหาร ไม่มีอาหารกิน หรือ กระทั่งอดตายอยู่ในบางภูมิภาคของโลก ทั้ง ๆ ที่มีข้อมูลบ่งชี้เช่นกันว่า ทุก ๆ ปีจะมีอาหารที่ถูกทิ้ง (Food Waste) หรืออาหารถูกปล่อยให้เน่าเสียไปอย่างเปล่าประโยชน์ประมาณ 1 ใน 3 ของอาหารที่ ผลิตขึ้นในแต่ละปี หลายประเทศประสบปัญหาอาหารเหลือทิ้ งและพบด้วยว่าปัญหานี้ เริ่ มส่ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นทุกที (ธเนศน์ นุ่นมัน, 2559) องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ประเมินว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เกิดจากอาหารเหลือทิ้งในโลกนี้ อาจมีปริมาณเทียบได้เท่ากับ 3,300 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์/ปี (องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (ธเนศน์ นุ่นมัน, 2559) โดยปกติแล้วการกำจัดขยะอาหารสามารถทำได้หลายวิธี เราสามารถลดการกินทิ้งกิน ขว้าง ด้วยการนำไปบริจาคให้ผู้ยากไร้ เอาไปทำเป็นอาหารสัตว์ เอาไปหมักเพื่อทำเป็นก๊าซหุงต้ม แปร รูปกลับคืนไปประกอบหน้าดินหรืออีกวิธีหนึ่งก็คือ การนำขยะอาหารไปฝังกลบ เป็นวิธีการกำจัดขยะ อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงมากที่สุด เพราะจะเป็นการเพิ่มภาวะเรือนกระจก จากการย่อยสลายที่จะคาย ก๊าซมีเทนออกมาจากขยะอินทรีย์ นอกจากนี้ขยะอาหารยังมีปัญหาเรื่องของกลิ่นรบกวน และเป็น แหล่งเพาะเชื้อโรคมากมาย และหากจัดการล้มเหลวก็จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้แม้ปริมาณต่อคนจะไม่มาก แต่ถ้าทุกคนพากันทิ้ง ไม่มีการคัดแยก ไม่มีการจัดการที่ดีเพียงพอ ขยะอาหารที่เป็นของธรรมดาๆ ก็ก่อให้เกิดผลกระทบลูกโซ่อย่างใหญ่ลวงได้ไม่ยาก ไม่ว่าจะเป็นโรคภัย ที่เกิดจากการกำจัดขยะที่ไม่ถูกวิธี เช่น โรคท้องร่วง ปวดท้อง ปวดศีรษะ ภูมิแพ้ โรคเกี่ยวกับทางเดิน อาหารอื่น ๆ ที่เกิดจากสิ่งสกปรกและแบคทีเรียจากการหมักหมมของขยะ เพียงแค่ก๊าซที่เกิดจากการ หมักตัวของขยะมูลฝอยก็ส่งผลให้เกิดอาการเวียนหัวอาเจียนได้แล้ว การขยายตัวของพาหะนำโรคเช่น หนู และแมลงวัน จากกองขยะอาหารที่ไม่ได้ถูกกำจัด ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณ ของการย่อยสลายขยะปริมาณขยะโดยรวมที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากขยะปกติบางประเภทเมื่อมีการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3