2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์
24 ปนเปื้อนขยะอาหารในปริมาณมาก ก็ยากที่จะนำมารีไซเคิลใหม่ได้ จำเป็นต้องเข้ากระบวนการกำจัด (PTT ExpresSo (Express Solution) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), 2565) ประเทศไทยมีความสามารถในการกำจัดขยะไม่ถึง 70% ของขยะที่เกิดขึ้น ทำให้มีขยะมูล ฝอยตกค้างจำนวนมาก อีกทั้งการกำจัดขยะด้วยวิธีฝังกลบที่ไม่ถูกต้องของประเทศที่มากขึ้น 2,024 แห่ง จากที่มีทั้งหมด 2,490 แห่ง จึงก่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากการปนเปื้อนมลพิษจากขยะสู่ดิน แหล่งน้ำทั้งบนดินและใต้ดินเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์พาหะนำโรคและส่งผลต่อภาวะโลกร้อนจากก๊าซ มี เทนที่ เกิดขึ้ นจากกองขยะมูลฝอย จากปัญหาด้านการจั ดการมูลฝอยดั งกล่ าว กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เคยดำเนินการผลักดันให้การจัดการขยะมูลฝอยเป็นวาระ แห่งชาติ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเรื่องขยะจากเดิมที่เน้นการกำจัดทิ้งมากที่สุด มาเป็นเน้นเรื่องการ ลดสร้างขยะตั้งแต่ต้นทาง โดยยึดหลัก 3Rs ได้แก่ ลดการใช้ (Reduce) นำมาใช้ซ้ำ (Reuse) นำ กลับมาใช้ใหม่ (Recycle) รวมถึงคำนึงถึงการใช้ประโยชน์จากขยะ เช่น ผลิตพลังงาน ทำปุ๋ยหมัก โดย ทำให้เหลือมูลฝอยที่ต้องกำจัดทิ้งให้น้อยที่สุดแต่ก็ยังทำได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น (ธเนศน์ นุ่นมัน,2559) นอกจากนี้ปัญหาขยะอาหารนั้นเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดขยะอินทรีย์จำนวน มหาศาล หากเราจัดการกับขยะอินทรีย์ไม่ถูกสุขลักษณะ จะกลายเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศเพราะขยะอินทรีย์จะปล่อยก๊าซมีเทนที่รุนแรงกว่าก๊าซ คาร์บอนไดออกไซค์ถึง 14 เท่า กองขยะที่มีปริมาณขยะอาหารมากจะยิ่งเป็นกองขยะที่ปล่อยมลพิษ ร้ายแรงที่สุดและนำไปสู่ภาวะโลกร้อน (พิมพ์พิลาส นันทิพล เคยรัมย์, 2562) 2.1.5 วงจรของการเกิดขยะอาหาร ตั้งแต่ที่โลกเผชิญกับวิกฤติโควิด-19 สิ่งหนึ่งที่กลายมาเป็นเทรนด์ในช่วงกักตัวคงหนีไม่พ้น การทำอาหารทานเองรวมถึงธุรกิจอาหารแบบเดลิเวอรี่ที่เติบโตขึ้นหลายเท่าตลอดระยะเวลาปีกว่าๆ ที่ผ่านมา ซึ่งปัญหาที่ตามมาก็คือ ปริมาณของขยะที่เพิ่มสูงขึ้น (ธัญศา สิงหปรีชา, 2564) ขยะอาหาร เป็นปัญหาที่ไม่เห็นด้วยตาแต่ก็เกิดขึ้นตลอดเวลาเพียงแต่อาจจะไม่ส่งผลถึงตัวเราโดยตรง ผู้คน ส่วนมากจึงไม่ค่อยให้ความสนใจเรื่องนี้นัก แต่ถ้าให้มองกลับกันขณะนี้เรากลับกำลังสูญเสียอะไรบ้าง อย่างที่เราอาจมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ขยะอาหารเมื่อทับถมกันมากขึ้นจะส่งกลิ่นเหม็น ก่อแหล่งเพาะ เชื้อโรค กระจายความเน่าเสียสู่แหล่งน้ำ จนไปถึงการผลิตก๊าซมีเทนออกมาจำนวนมาก ซึ่งในเชิงสถิติ ก๊าซมีเทนมีความร้ายแรงในการทำลายชั้นโอโซนเหนือกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากถึง 20 เท่า ส่งผลทำให้เกิดภาวะโลกร้อนที่เรารู้ดีว่าปัญหาอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นส่วนหนึ่งก็มาจากขยะอาหาร และ ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมต่อมาแบบลูกโซ่ไม่รู้จบ ไม่ว่าจะเรื่องน้ำแข็งขั้วโลกที่ละลายตัว หลากภัยพิบัติที่ เริ่มเกิดขึ้นด้วยความถี่มากกว่าในศตวรรษที่ผ่านมา และผืนดินที่ไม่อาจรองรับการปลูกของพืชหลาก สายพันธุ์ (พงศ์พล ชาญด้วยกิจ, 2564) เพราะอาหารที่เราทานไม่หมด ทานไม่ทันเพราะต้องรีบไป
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3