2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์
25 ทำงาน หรือแม้กระทั่งอาหารที่เราทิ้งไป เพราะความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับอายุการเก็บรักษาของมัน ล้วนเป็นสาเหตุของการเกิดขยะอาหารด้วยกันทั้งสิ้น ขยะอาหารและอาหารส่วนเกินเวลาพูดถึงปัญหาขยะอาหารอีกคำที่มักถูกพูดถึงเสมอ คือ อาหารส่วนเกิน ทั้ง 2 คำ มีความแตกต่างกันอย่างไร อาหารส่วนเกิน คือ อาหารที่ผลิตหรือซื้อมาเกินความต้องการจนทิ้ง ทั้งที่ยังไม่ได้กิน หรือ ยังเก็บไว้กินได้ ถ้าเป็นผู้บริโภค เช่น ของสดที่กินไม่ทัน อาหารแห้ง อาหารกระป๋องที่เลยวัน best before แล้วทิ้ง เพราะเข้าใจผิดคิดว่าเลยวัน expiry date ร้านค้าปลีกเป็นอาหารที่เหลือจำหน่าย ซื้อ มาสต๊อกไว้เกินความจำเป็น ร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรม เช่น อาหารบุฟเฟต์ที่ยังกินได้ และแหล่ง ผลิตอาหารทางการเกษตร เช่น อาหารที่ช้ำจากการบรรจุหีบห่อ และการขนส่งที่ไม่ได้คุณภาพ ขยะอาหาร คือ เศษอาหาร เปลือกอาหาร อาหารแห้ง อาหารกระป๋องที่ถึงวันหมดอายุ แล้วอาหารที่เอาไว้แต่งจานให้สวยงาม หรืออาหารที่เน่าเพราะจัดการไม่ได้ ข้อแตกต่างที่สำคัญ คือ บริโภคไม่ได้แล้ว หากยังกินไปอาจมีปัญหาด้านความปลอดภัย แต่ไม่ว่าจะเป็นอาหารส่วนเกินหรือขยะอาหาร เส้นทางสุดท้ายก็มักจะไปรวมกันในกองขยะในฐานะ ขยะอินทรีย์อยู่ดี และด้วยวิธีจัดการขยะของประเทศไทยที่ยังไม่ค่อยมีประสิทธิภาพมากนัก ทำให้อาจ เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา สาเหตุหลักของการเกิดขยะอาหารขยะอาหารเกิดจากอาหารที่เหลือจากการบริโภคทั้งใน ครัวเรือน อาหารที่เหลือจากการจำหน่ายในร้านค้าปลีก อาหารบุฟเฟต์และอาหารที่ใช้เพื่อปรุงแต่ง จานในร้านอาหารหรือโรงแรม ขยะที่สร้างขึ้นในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม จากกระบวนการ ผลิตที่มีวัตถุดิบเหลือใช้ และการจัดเก็บวัตถุดิบที่ไม่ดีทำให้เกิดการเน่าเสีย หรือการจัดการที่ขาด ประสิทธิภาพของร้านค้าปลีก และพฤติกรรมฟุ่มเฟือยของผู้บริโภค ซึ่งเกี่ยวโยงถึงการวางแผน จัดเตรียมอาหารและสินค้าที่ไม่เหมาะสม การทิ้งอาหารที่ยังรับประทานได้ และการซื้ออาหารเกิน ความจำเป็น หรือขาดความเข้าใจหรือสับสนต่อวันหมดอายุบนฉลากสินค้า เมื่อเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ ขึ้นก็ล้วนทำให้เกิดขยะอาหารตามมาโดยจำเป็นที่จะต้องนำมาทิ้งที่จุดทิ้งขยะเพื่อที่จะนำไปสู่ กระบวนการขนส่งโดยรถจัดเก็บของเทศบาลกำหนดไว้ (คัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ และณภัทร ดนัย, 2565) โดยกระบวนการจัดการในการกำจัดขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี 5 มีขั้นตอน การดำเนินงานดังนี้ 1) การคัดแยก (Separation) เป็นขั้นตอนการคัดแยกขยะออกจากกันตามประเภทของ การนำกลับไปใช้ใหม่หรือกำจัดตามลักษณะของมูลฝอย โดยเทศบาลจะทำการรณรังค์คัดแยกขยะ ตั้งแต่ต้นทางหรือจากแหล่งกำเนิด แบ่งขยะออกเป็น 4 ประเภท คือ 1) ขยะย่อยสลายได้ 2) ขยะรี ไซเคิล 3) ขยะทั่วไป และ 4) ขยะอันตราย ครัวเรือนคัดแยกและนำไปทิ้งยังจุดรวบรวมที่เทศบาลจุด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3