2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์

27 แนวทางการบริหารจัดการห่วงโซ่อาหาร เพื่อลดปริมาณการเกิดขยะตามรูปแบบสากล จากเป้าหมายสู่กรอบแนวคิดในการลดขยะ 5 ขั้นตอน ในสิ่งที่ควรทำมากที่สุดไปจนถึงสิ่งที่ควรทำ น้อยที่สุด (THRC, 2564) 1. การป้องกัน (prevention) ป้องกันการเกิดขยะอาหารและอาหารส่วนเกินโดยวาง แผนการกินให้ดี คือ การป้องกันการก่อให้เกิดขยะอาหาร โดยภาครัฐควรมีมาตรการการป้องกันการ เกิดขยะอาหารในทุกขั้นของห่วงโซ่ เช่น การส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถผลิตอาหารโดยใช้ โยชน์ของทรัพยากรอย่างสูงสุด การสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการขนส่งที่ดี เพื่อป้องกันการ สูญเสียและก่อให้เกิดขยะอาหารจากการขนส่งและการห้ามไม่ให้มีการกำหนดมาตรฐานรูปลักษณ์ของ อาหารในการจำหน่ายซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของการสูญเสียอาหาร อาทิ การห้ามการกำหนดลักษณะ ของผักและผลไม้ในการจำหน่ายว่าต้องมีเปลือกหุ้มห่อที่ดี เป็นต้น 2. จัดสรรอาหารเพื่อประโยชน์สูงสุด (optimization) ส่งต่ออาหารส่วนเกินไปบริจาคแก่ ผู้ยากไร้ คือ การป้องกันการทิ้งอาหารส่วนที่เกินความต้องการโดยไม่จำเป็นด้วยการส่งต่ออาหาร (redistribution) ไปยังแหล่งต่าง ๆ เพื่อสร้างประโยชน์ให้ได้มากที่สุด ประกอบด้วย (1) การบริจาค อาหารส่วนเกินจากการจำหน่ายที่ยังไม่หมดอายุแต่ยังสามารถบริโภคได้ให้กับผู้มีความต้องการอาหาร และ (2) การนำอาหารส่วนเกินมาส่งต่อเพื่อนำไปเป็นอาหารสัตว์ 3. การนำมาผลิตเพื่อใช้ใหม่ (recycle) นำขยะอาหารมาผลิตก๊าซชีวภาพ เพื่อใช้เป็น พลังงานและนำมา ผลิต ปุ๋ย และน้ำหมักชีวภาพ ไว้ใช้ประโยชน์ คือ การนำขยะอาหารไปเข้า กระบวนการผลิตเพื่ อนำกลับมาใช้ใหม่ ประกอบด้วยการผลิตก๊าซชีวภาพ ( biogas) โดยผ่าน กระบวนการหมักย่อยแบบไร้อาหารและการผลิตปุ๋ยเพื่อการเกษตร 4. การกำจัดเพื่อนำพลังงานมาใช้ใหม่ (recovery) นำขยะอาหารมาเผาเพื่อผลิตพลังงาน คือ การนำขยะอาหารที่มีความชื้น ต่ำมาเผาเพื่อผลิตเป็นพลังงานความร้อน ทั้งนี้ ขยะอาหารที่มี ความชื้นสูงต้องใช้พลังงานได้การเผาสูง และทำให้เกิดมลพิษมากกว่าขยะอาหารที่มีความชื้นต่ำ ดังนั้น ขยะอาหารที่มีความชื้นสูงจึงไม่คุ้มค่า ต่อการนำมาเผาเพื่อผลิตเป็นพลังงานความร้อน โดยควรนำไป ผลิตเป็นก๊าซชีวภาพหรือปุ๋ยเพื่อ การเกษตรในกระบวนการรีไซเคิลหรือการเผาโดยไม่นำมาผลิตเป็น พลังงานมากกว่า 5. กำจัด (disposal) นำขยะอาหารที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ ไปฝังกลบและเผาเพื่อกำจัด คือ การนำขยะอาหารที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้แล้วไป กำจัดอย่างถูกวิธี ประกอบด้วยการเผาโดย ไม่นำมาผลิตเป็นพลังงาน การฝังกลบและการทิ้งร่วมกับน้ำ เสียเพื่อการบำบัด ทั้งนี้ การฝังกลบและ การบำบัดน้ำเสีย สามารถนำไปสู่การผลิตพลังงานจากการ จากดักจับก๊าซชีวภาพได้ (เมทิตา อังศุเมธ และคณะ, 2565)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3