2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์

28 สำหรับประเทศไทย ค่านิยม “เหลือ…ดีกว่าขาด” ทำให้อาหารส่วนเกินจำนวนมาก กลายเป็นขยะอาหาร แล้วส่วนใหญ่ได้รับการจัดการอย่างไม่เหมาะสม ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ตามมาทั้ง ‘อาหารส่วนเกิน’ และ ‘ขยะอาหาร’ ถูกทิ้งรวมกัน ถึงแม้ว่าจะมีส่วนที่ยังกินได้อยู่ก็ตาม ดังนั้นปัญหาดังกล่าวจึงมีนโยบายการจัดการขยะอาหารที่ดี โดย 3 แนวทาง คือ (ฉัตรชัย ตวงรัตน พันธ์, 2565) 1. เพิ่มเพื่อลด คือ เพิ่มแรงจูงใจในการลดปริมาณขยะอาหารให้ tax credit สำหรับ ค่าใช้จ่ายในการวางระบบจัดการขยะอาหารให้กับภาคธุรกิจและคืน VAT ให้แก่ผู้บริจาคอาหาร เพื่อ กระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนส่งต่ออาหาร หรือเพิ่มอัตราค่าธรรมเนียมการจัดเก็บขยะให้สะท้อนต้นทุน (Polluters pay) หรือเพิ่มกฎหมายคุ้มครองผู้บริจาค และตัวกลางในการบริจาคอาหาร โดยออก กฎหมายคุ้มครองผู้บริจาคอาหารที่ทำตามมาตรฐานของการบริจาคอาหาร 2. งดเพื่อเปลี่ยน คือ งดการทิ้งขยะรวมกัน โดยแยกการจัดเก็บขยะอินทรีย์หรืองดทิ้งขยะ อาหารไปโดยเปล่าประโยชน์ โดยจัดศูนย์แปรรูปขยะอาหารเป็น ปุ๋ย น้ำหมักชีวภาพ ในแต่ละองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น 3. เรียนรู้กับข้อมูล คือ ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องการบริจาคอาหารโดยสร้าง platform ระหว่างผู้ที่ต้องการรับบริจาคอาหาร และผู้บริจาคอาหารหรือส่งต่อฐานข้อมูลในการ บริหารจัดการขยะอาหารโดยจัดทำฐานข้อมูลปริมาณขยะอาหาร (THRC, 2564 ) 2.2 แนวคิดการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยเกิดจากการเพิ่มจำนวนประชากร การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การแสวงหาประโยชน์ทางการเมือง ความจน ความเชื่อและค่านิยมด้าน สิ่งแวดล้อมในการผลิต จิตสำนึก และการศึกษาอบรม (อำนาจ วงศ์บัณฑิต, 2550) ประเทศไทยเริ่มให้ ความสนใจด้านการรักษาและคุ้มครองสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง รวมถึงการมีส่วนร่วมการเข้าเป็นภาคี สนธิสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย (จุมพต สายสุนทร, 2550) ในส่วนของประเทศไทยนั้นนโยบายหรือมาตรการที่หน่วยงานกำกับดูแลสิ่งแวดล้อมกำหนดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พฤติกรรมของประชาชนมีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับตัวเพื่อจะเป็นประโยชน์ ต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยอาจเป็นมาตรการแนวทางในการทำให้เพิ่มต้นทุนให้แก่ผู้ผลิตและ ผู้บริโภคที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง หรือเป็นมาตรการที่สนับสนุนหรือสร้างแรงจูงใจเพื่อให้ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยการลดการก่อมลพิษ (วสุ สุวรรณวิหค, 2558) 2.2.1 หลักการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม สำหรับแนวคิดหรือหลักการที่สำคัญในการกำหนดหลักการเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมมี 2 หลักการคือ หลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย และหลักการผู้รับประโยชน์เป็นผู้จ่าย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3