2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์
29 2.2.1.1 หลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (Polluter Pays Principle : PPP) หลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (Polluter Pays Principle: PPP) ได้ถูกนำเสนอ โดยองค์ การความร่ วมมื อทางเศรษฐกิ จและการพัฒนา ( Organization for Economic Co- operation and Development : OECD โดยมีหลักการสำคัญคือ การนำเอาต้นทุนที่เกิดจากการก่อ มลพิษต่อสิ่งแวดล้อม (environmental costs) หรือผลกระทบภายนอก (externality) เข้ามาเป็น ส่วนหนึ่งของต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งหลักการนี้มีแนวคิด พื้นฐานสะท้อนให้เห็นถึงต้นทุนราคาสินค้าและบริการทั้งหมดที่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดย ผลักดันให้ผู้ก่อมลพิษนำต้นทุนการใช้สิ่งแวดล้อมที่ผู้ก่อมลพิษจะต้องจ่ายทั้งหมด รวมถึงค่าเสียหาย ทางสิ่งแวดล้อมและค่าใช้จ่ายที่ลงทุนเพื่อการป้องกันมลพิษและควบคุมมลพิษ โดยกำหนดให้ผู้ใช้ ทรัพยากรเป็นผู้รับผิดชอบในความเสื่อมโทรมจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ หรืออาจเรียกได้ว่าเป็น หลักการผู้ ใช้เป็นผู้จ่าย (User Pays Principle: UPP) และทำให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคปรับเปลี่ยน พฤติกรรมอันจะเป็นผลดีต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งหลักการนี้อาศัยการให้รางวัลและการทำโทษ (Carrot and Stick) 2.2.1.2 หลักการผู้รับประโยชน์เป็นผู้จ่าย (Beneficiary Pays Principle: BPP) หลักการผู้รับประโยชน์เป็นผู้จ่าย (Beneficiary Pays Principle: BPP) เป็น หลักการสำคัญที่มุ่งเน้น คือ ผู้ได้รับประโยชน์จากสินค้าและบริการต้องเป็นผู้จ่ายต้นทุนทั้งหมดในการ ผลิตสินค้าและบริการนั้น คือเมื่อได้รับประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้นั้นมี หน้าที่ต้องจ่ายค่าผลประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็น หลักการที่ยุติธรรมและมีประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากร โดยหลักการนี้จะคล้ายกับหลักการผู้ใช้ เป็นผู้จ่าย (User Pays Principle) ซึ่งมีประเด็นสำคัญคือผู้บริโภคต้องจ่ายค่าสินค้าและบริการที่ บริโภคนั่นเอง สำหรับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเรียกว่า การจ่ายค่าตอบแทนสำหรับการดูแลรักษา สิ่งแวดล้อม (Payment for Environmental Services: PES) ซึ่งเป็นธุรกรรมที่คู่สัญญา 2 ฝ่ายคือ ผู้รับบริการหรือผู้ได้ประโยชน์ (วสุ สุวรรณวิหค, 2558) 2.2.2 หลักการการป้องกันล่วงหน้า แนวทางหลักในการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม คือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy) บนแนวทางของความพอประมาณ ความมีเหตุผล และใช้องค์ความรู้ทั้งทางวิชาการ และภูมิปัญญา ท้องถิ่นประกอบการตัดสินใจ โดยคำนึงถึงความถูกต้องและเป็นธรรมในการสร้างภูมิคุ้มกันแก่ฐาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมในทุกภาคส่วน และทุกระดับ โดยยึดคนและชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลางการพัฒนา และวางแนวทางการบริหาร จัดการอยู่ ในทางสายกลางเหมาะสมและมีการบูรณาการการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3