2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์

30 สิ่งแวดล้อมที่ผสมผสานกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างสมดุลและการ พัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ โดยการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจำเป็นต้องมี หลักการที่สำคัญ คือ หลักการป้องกันล่วงหน้า (Precautionary Principle) เป็นหลักการจัดการเชิง รุกที่เน้นการป้องกันผลกระทบล่วงหน้าโดยสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะพื้นที่ที่มีระบบนิเวศที่เปราะบางและพื้นที่เสี่ยงเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะ เกิดขึ้น และคำนึงถึงกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยงและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์หรือ สิ่งแวดล้อม (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2559) หลัก Precautionary Principle หรือ “หลักการป้องกันไว้ล่วงหน้า” แต่เดิมเป็นหลักการ ที่มีความมุ่งหมายในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมจากอันตรายที่มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะสร้างความ เสียหายอย่างร้ายแรงต่อไปในอนาคต ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันอันตรายดังกล่าว แต่ละประเทศจึง อาจกำหนดมาตรการขึ้ นเพื่ อใช้ในการป้องกันอันตรายหรือความเสียหายเป็นการชั่ วคราวได้ (Provisional Measures) แม้ว่าในขณะนั้นจะยังไม่มีข้อพิสูจน์ทางด้านวิทยาศาสตร์มารองรับการ กำหนดมาตรการได้อย่างเพียงพอก็ตาม จึงทำให้เกิดแนวคิดหลักการดังกล่าวน่าจะนำมาปรับใช้กับ การกำหนดมาตรการทางกฎหมายในการจัดการขยะอาหาร เพื่อคุ้มครองผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจของประเทศให้มีความปลอดภัยจากขยะอาหารที่มีความเสี่ยงว่าจะเป็นอันตรายได้ เช่นกัน แต่ด้วยเหตุที่มีมุมมองต่อคำว่าปลอดภัยแตกต่างกัน จึงทำให้เกิดปัญหาในการตีความหลัก Precautionary Principle อยู่บ่อยครั้ง ทำให้ WTO จำต้องตีความ และกำหนดเงื่อนไขให้ชัดเจน ยิ่งขึ้น (วรวรรณ เชยชิด, 2559) หลักการป้องกันไว้ล่วงหน้ามีกำเนิดมาจากแนวคิดในกฎหมายสิ่งแวดล้อมเยอรมันที่ เรี ยกว่ า Vorsorgeprinzip (แปลเป็นภาษาอั งกฤษว่ า foresight principle หรื อ principle of precaution) ในช่วงทศวรรษ 1970 ในระดับระหว่างประเทศ ปรัชญาเกี่ยวกับการใช้มาตรการระวัง ล่วงหน้าเริ่มปรากฎให้เห็นชัดเจนใน The World Charter for Nature ค.ศ. 1982 ข้อ 11 ดังนี้ “กิจกรรมซึ่งอาจมีผลกระทบต่อธรรมชาติจะต้องถูกควบคุมและจะต้องใช้เทคโนโลยีที่ดี ที่ สุดเท่าที่ มีอยู่ (best available technologies) เพื่ อลดความเสี่ ยงและผลกระทบรุนแรงต่อ ธรรมชาติ (significant risks to nature and other adverse effects) โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้อง หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายที่ไม่อาจฟื้นคืนดีได้ (irreversible damage) จะต้อง มีการตรวจสอบอย่ างรอบด้าน (exhaustive examination) ก่อนการดำเนินกิจกรรมที่ น่าจะ ก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างรุนแรงต่อธรรมชาติผู้เสนอโครงการจะต้องแสดงให้เห็นว่าผลประโยชน์ที่คาด ว่าจะได้รับมีมากกว่าความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นและในกรณีที่ยังไม่มีความเข้าใจอย่างเต็มที่เกี่ยวกับ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจะต้องไม่ดำเนินกิจกรรมนั้นจะต้องมีการประเมินผลกระทบก่อนดำเนิน กิจกรรมซึ่งอาจรบกวนธรรมชาติจะต้องศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเพียงพอล่วงหน้าก่อนการ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3