2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์
32 1) หลักการป้องกันไว้ล่วงหน้าใช้ในกรณีที่มีความไม่ชัดเจนทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับ สาเหตุขนาด โอกาสความเป็นไปได้และลักษณะของความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม การ ใช้มาตรการดังกล่าวต้องอยู่บนพื้นฐานของการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้มิ ใช่เกิดขึ้นจาก จินตนาการหรือการคาดคะเนอย่างลอย ๆ ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนได้แก่ ปัญหาโรคร้อน ซึ่งมีข้อมูลทาง วิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ในระดับหนึ่งว่าภาวะโลกร้อนเกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกิจกรรม ของมนุษย์แม้จะยังไม่ชัดเจนว่ากิจกรรมของมนุษย์มีส่วนสำคัญในการก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนมากน้อย เพียงใดเมื่อเทียบกับสาเหตุทางธรรมชาติและภาวะโลกร้อนจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างไรขนาด ไหนและจะมีผลต่อภูมิภาคใดมากกว่า เป็นต้น 2) หลักการระวังไว้ก่อนใช้ในกรณีที่ความเสียหายซึ่งอาจจะเกิดขึ้นมีความร้ายแรงเกินกว่า ระดับที่จะยอมรับได้โดยคำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นแก่คนรุ่นอนาคตหรือประชาชนที่ไม่ได้อยู่ ในพื้นที่ซึ่งมีกิจกรรมที่อาจเป็นสาเหตุของความเสียหายด้วยสำหรับความเสียหายที่ถือว่าเกินกว่าระดับ ที่จะยอมรับได้นั้น คำประกาศ มติและอนุสัญญาต่าง ๆ ใช้ถ้อยคำที่แตกต่างกันไป เช่น “ความเสียหาย รุนแรง” (“serious harm”) “ความเสียหายรุนแรงที่ไม่สามารถแก้ไขให้คืนดีได้” (“serious and irreversible damage”) และ “ความเสียหายที่มีผลในระดับโลก ไม่สามารถแก้ไขให้คืนดีได้และมี ผลกระทบข้ามรุ่นคน” (“global, irreversible and trans-generational damage”) 3) จะต้องดำเนินมาตรการระวังไว้ก่อน ก่อนที่ความเสียหายอาจเกิดขึ้น หรือก่อนที่จะมี ความชัดเจนว่าความเสียหายจะเกิดขึ้นแน่นอน การใช้มาตรการ”รอดูไปก่อน” จึงไม่ใช่วิธีการที่ ถูกต้อง 4) มาตรการที่จะใช้ควรมีความเหมาะสมหรือได้สัดส่วน (proportional) กับระดับของ การคุ้มครองและขนาดของความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น คำประกาศกรุงริโอและอนุสัญญาบางฉบับ กล่าวถึงมาตรการที่ เป็นการใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ (cost - effective measures) แต่ใน อนุสัญญาและเอกสารอื่น ๆ กล่าวถึงแต่เพียงมาตรการเพื่อป้องกันความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายในการดำเนินมาตรการน่าจะเป็นเพียงข้อพิจารณาอันหนึ่งเท่านั้น และ เป้าหมายของการลดความเสี่ยงก็ไม่น่าจะอยู่ที่การลดความเสี่ยงให้ เหลือศูนย์ฉะนั้น การที่จะห้าม กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งโดยสิ้นเชิงหรือไม่นั้นย่อมขึ้นอยู่กับระดับความเสี่ยงว่าน่าจะเป็นอันตรายของ กิจกรรมดังกล่าวว่ามีมากน้อยเพียงใดเป็นกรณี ๆ ไป 5) การใช้หลักการป้องกันไว้ล่วงหน้ามีผลในการเปลี่ยนภาระการพิสูจน์ (burden of proof) จากผู้ที่อ้างว่าอาจเกิดความเสียหายไปยังเจ้าของโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดความ เสียหาย กล่าวคือ เจ้าของโครงการจะต้องดำเนินมาตรการเพื่อป้องกันหรือหาหลักฐานมายืนยันว่า กิจกรรมของตนจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายดังกล่าว
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3