2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์

33 6) จะต้องมีการศึกษาอย่างเป็นระบบเพื่อหาข้อมูลและหลักฐานเพิ่มเติมสำหรับสร้าง ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น และเพื่อใช้ในการกำหนดมาตรการสำหรับจัดการกับ ความเสี่ยงนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นขั้นตอนต่อไปจากการใช้หลักการป้องกันไว้ล่วงหน้าเพียง ลำพัง 7) การกำหนดมาตรการป้องกันตามหลักการป้องกันไว้ล่วงหน้าจะต้องมีความโปร่งใสโดย รับฟังข้อมูลความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง การใช้หลักการป้องกันไว้ล่วงหน้าถึงจะมีข้อดี แต่ก็มีผู้ไม่เห็นด้วยกับการนำหลักการ ดังกล่าวมาใช้มากเกินไปด้วยเหตุผลว่าจะเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการและเจ้าของ โครงการในการดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อแสดงว่ากิจกรรม ผลิตภัณฑ์หรือเทคโนโลยีใหม่ที่เสนอนั้น ปลอดภัย แม้ว่าในที่สุดอาจจะไม่สามารถหาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มายืนยันว่าเทคโนโลยีใหม่หรือ ผลิตภัณฑ์ใหม่นั้นเป็นอันตรายเลยก็ได้การใช้หลักการระวังไว้ก่อนจึงเป็นข้อห้ามไม่ให้ดำเนินกิจกรรม บนฐานของความไม่รู้ซึ่งในที่สุดอาจจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เนื่องจากการ คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใด ๆ ย่อมก่อให้เกิดความเสี่ยงอยู่เสมออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น ยาแอสไพรินซึ่งเป็นยาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน หากเราใช้หลักการระวังไว้ ก่อนในอดีต ซึ่งกำหนดให้เราต้องชั่งน้ำหนักระหว่างผลดีและผลเสียของยาแอสไพรินซึ่งมีผลข้างเคียง มากมาย ยาแอสไพรินก็คงจะไม่ได้รับอนุญาตให้วางตลาด และสังคมก็คงไม่มีโอกาสได้รับประโยชน์ จากยานี้ซึ่งนับตั้งแต่มีการใช้แอสไพริน ทำให้เราได้รับทราบความรู้และข้อมูลใหม่ๆเกี่ยวกับคุณสมบัติ ที่เป็นประโยชน์ของยาแอสไพรินอีกมากมายหลายประการ เช่น นอกจากบรรเทาอาการปวดแล้ว ยัง ช่วยในการบำบัดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และป้องกันเส้นเลือดอุดตัน นอกจากนี้ยาแอสไพรินยังเป็นฐาน สำคัญในการต่อยอดไปสู่การพัฒนายาตัวอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติดีกว่าแอสไพรินหลายตัว ทั้งหมดนี้คงไม่ เกิดขึ้นหากเราดำเนินการตามปรัชญาของหลักการป้องกันไว้ล่วงหน้า แนวปฏิบัติเรื่องการใช้หลักการระวังไว้ก่อนของคณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งออกมาเมื่อต้น ค.ศ. 2000 ดูเหมือนจะให้ความชัดเจนมากกว่าแหล่งอื่ น ๆ เพื่ อให้ง่ายแก่การอ่านจะขอสรุป สาระสำคัญเกี่ยวกับแนวทางการใช้มาตรการการป้องกันไว้ล่วงหน้าตามแนวปฏิบัตินี้พอสังเขป คือ (1) ในกรณีมีเหตุผลพอสมควร (reasonable grounds for concern) ที่จะเชื่อได้ว่า กิจกรรมใดอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม หรือสุขภาพมนุษย์สัตว์และพืช และยังไม่มีข้อมูลทาง วิทยาศาสตร์เพียงพอที่จะประเมินผลกระทบได้โดยละเอียด หลักการป้องกันไว้ล่วงหน้ามีความ เหมาะสมในการจัดการความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น (2) การวิเคราะห์ความเสี่ยงตามหลักการป้องกันไว้ล่วงหน้าควรประกอบด้วย การประเมิน ความเสี่ยง (risk assessment) การจัดการความเสี่ยง (risk management) และการแจ้งให้ทราบ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3