2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์
35 ผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการผลิต อย่างไรก็ดีรัฐสมาชิกอาจออกมาตรการเฉพาะที่กำหนดให้ภาระการ พิสูจน์ตกอยู่กับผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าก็ได้ ในปัจจุบัน การถกเถียงเกี่ยวกับขอบเขตและสาระของหลักการระวังไว้ก่อนยังไม่มีข้อยุติ ดังได้กล่าวมาแล้วว่าหลักการระวังไว้ก่อนมีแนวโน้มที่จะถูกใช้แพร่หลายออกไปนอกเหนือจาการ คุ้มครองสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเกี่ยวกับการคุ้มครองสุขภาพมนุษย์สัตว์และพืช จึงอาจ กล่าวได้ว่า มาตรการที่รัฐเลือกใช้ในการดำเนินตามหลักการระวังไว้ก่อนอาจมีความหลากหลายตราบ ใดที่เป็นมาตรการคุ้มครองที่ใช้ในกรณีที่ยังไม่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้น จากกิจกรรม โครงการหรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์มีความเห็นร่วมกันว่า การใช้หลักการการป้องกันไว้ล่วงหน้ามีความสำคัญเป็นพิเศษในสาขาที่เกี่ยวข้องกับด้านชีววิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมการใช้สายพันธุพืชใหม่และพันธุ์พืชที่เป็น GMO ซึ่งได้มาจากการ ปรับแต่งพันธุกรรม เนื่องจากว่าผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากความผิดพลาดมีมากกว่า กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ในสาขาเคมีและฟิสิกส์มาตรการต่อไปนี้เป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งของการใช้ หลักการการป้องกันไว้ล่วงหน้า - มาตรการกำหนดให้ต้องประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมก่อนการดำเนินกิจกรรมหรือ โครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม - มาตรการกำหนดให้ใช้เทคโนโลยีที่สะอาด หรือเทคโนโลยีที่ดีที่สุดเพื่อลดมลพิษและ อันตรายต่อสุขภาพจากผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต เช่น ระเบียบ ROHs (Directive on the use of certain hazardous substances in electrical and electronic equipment) ที่ อ อ ก โ ด ย สหภาพยุโรปเมื่อต้นปี ค.ศ. 2003 กำหนดให้รัฐสมาชิกห้ามใช้สารอันตรายบางชนิดเป็นส่วนประกอบ ในการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2006 เป็นต้นไป เป็น ต้น - มาตรการกำหนดให้ผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ หรือผู้ดำเนิน กิจกรรมที่อาจส่งผลเสียหายรุนแรงต้องรับผิดอย่างเคร่งครัด (strict liability) ต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดจากการรั่วไหลหรือแพร่กระจายของมลพิษ ไม่ว่าการรั่วไหลของมลพิษหรือความเสียหายที่ เกิดขึ้นจะเกิดจากความจงใจหรือประมาทเลินเล่อหรือไม่ก็ตาม ซึ่งจะมีผลให้ผู้ประกอบการต้องใช้ ความระมัดระวังและมีความรับผิดชอบมากขึ้นในการประกอบกิจกรรม รวมถึงการลงทุนในระบบการ ผลิตเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น - มาตรการให้ต้องวางพันธบัตรรับประกัน (performance bonds) ซึ่งเหมาะสมที่จะใช้ กับโครงการหรือกิจกรรมที่มีความเสี่ยงว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงหากเกิดอุบัติเหตุหรือความ ผิดพลาด เช่น โครงการท่อขนส่งก๊าซ หรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นต้น กล่าวคือ กำหนดให้เจ้าของ โครงการต้องซื้อพันธบัตรรัฐบาลเป็นค่าประกันความเสียหาย โดยรัฐจะคืนเงินให้พร้อมดอกเบี้ยเมื่อ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3