2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์

36 ครบกำหนดระยะเวลา หากการประกอบกิจการก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศ ก็ให้หักเงินจากดอกเบี้ยและเงินต้นได้ถ้าไม่ก่อให้เกิดความเสียหายเลยก็จะได้เงินคืนครบเต็มจำนวน พร้อมดอกเบี้ย มาตรการนี้จะทำให้โรงงานมีความตื่นตัวที่จะใช้มาตรการความปลอดภัยมากขึ้น แม้ว่า โอกาสที่จะเกิดการรั่วไหลของมลพิษมีน้อยก็ตาม และยังเป็นการทำให้มั่นใจได้ว่าจะมีเงินเพื่อใช้จ่าย ในการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในกรณีที่เกิดความเสียหาย หรือชดเชยความเสียหายให้แก่ผู้ที่ได้รับ ผลกระทบหรือความเสียหายจากการรั่วไหลของมลพิษ มาตรการนี้อาจนำไปใช้กับกิจกรรมอื่น ๆ ได้ ขึ้นอยู่กับนโยบายสาธารณะของรัฐ เช่น กำหนดให้ผู้ที่ต้องการนำสารเคมีตัวใหม่ หรือเทคโนโลยีใหม่ ออกวางจำหน่ายต้องวางเงินลักษณะเดียวกัน - มาตรการกำหนดให้บริษัทผู้ผลิตยาต้องทำการทดสอบยาว่าใช้ได้ผลและมีความ ปลอดภัยก่อนที่จะอนุญาตให้วางจำหน่าย - มาตรการห้ามนำเข้าและห้ามจำหน่าย หรือกำหนดให้นำเข้าโดยมีเงื่อนไขสำหรับ ผลิตภัณฑ์ที่เชื่อว่าอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น กรณีสหภาพยุโรปห้ามนำเข้าเนื้อสัตว์ที่เลี้ยงด้วย ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต หรือการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการนำเข้าพืช GMO หรือผลิตภัณฑ์ที่มี GMO เป็นส่วนประกอบ เป็นต้น - มาตรการกำหนดให้ต้องประเมินความเสี่ยง (risk assessment) ก่อนดำเนินกิจกรรม เช่น กำหนดให้ประเมินความเสี่ยงก่อนการเคลื่อนย้ายสิ่งมีชีวิตที่ดัดแปลงพันธุกรรม เป็นต้น - ที่กล่าวมานี้เป็นตัวอย่างบางส่วนของมาตรการที่รัฐอาจนำมาใช้ภายใต้หลักการระวังไว้ ก่อนเท่าที่รวบรวมได้จากแหล่งต่าง ๆ ดังได้กล่าวมาแล้วว่า มาตรการที่ถูกนำมาใช้มีความหลากหลาย ปัญหาใหญ่จึงอยู่ที่การกำหนดระดับความเสี่ยงที่คิดว่าสังคมรับได้และรับไม่ได้ซึ่งหากเป็นประการหลัง ก็จะต้องดำเนินมาตรการบางประการเพื่อป้องกันไว้ก่อน จึงเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่การใช้หลักการ ระวังไว้ก่อนจะขึ้นอยู่กับนโยบายสาธารณะและการตัดสินใจทางการเมืองของผู้มีอำนาจตัดสินใจ ซึ่งก็ คือรัฐบาลหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบในแต่ละประเทศ เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศไทยยังน ำ หลักการระวังไว้ก่อนมาใช้ในการ กำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสุขภาพค่อนข้างน้อย มาตรการตามกฎหมายไทยที่น่าจะมา จากการยึดหลักการระวังไว้ก่อน ได้แก่ (1) พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 มาตรา 96 ซึ่ง บัญญัติให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษมีหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือ ค่าเสียหายแก่ชีวิต ร่างกายหรือสุขภาพอนามัย ในกรณีที่เกิดการรั่วไหลหรือแพร่กระจายของมลพิษ ไม่ว่าการรั่วไหลหรือแพร่กระจายของมลพิษจะเกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ หรือไม่ก็ตาม โดยกำหนดข้อยกเว้นสำหรับความรับผิดในกรณีที่เป็นการกระทำที่อยู่นอกเหนือความ ควบคุมหรือความรับผิดชอบของเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ การกำหนดหน้าที่ให้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3