2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์

37 ต้องรับผิดอย่างเคร่งครัดมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการใช้ความระมัดระวังมากขึ้นในการ ประกอบกิจกรรม อย่างไรก็ดีบทบัญญัตินี้ได้รับการวิจารณ์ว่ามิได้ช่วยให้การฟ้องคดีสิ่งแวดล้อม กระทำได้ง่ายขึ้น เนื่องจากผู้เสียหายยังคงต้องพิสูจน์ความเสียหายที่ตนได้รับและแสดงให้เห็นว่าความ เสียหายนั้นเกิดจากการกระทำหรือละเว้นกระทำของผู้เป็นต้นเหตุ จึงไม่อาจถือได้ว่ายึดหลักการระวัง ไว้ก่อนอย่างเต็มที่ เนื่องจากสาระสำคัญของหลักการระวังไว้ก่อนคือ การผลักภาระให้ผู้ประกอบการ เป็นฝ่ายต้องพิสูจน์ว่า กิจกรรมของตนเองมีความปลอดภัย จึงควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัตินี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการมีภาระในการพิสูจน์ว่ากิจกรรมของตนมิได้เป็นต้นเหตุที่ก่อให้เกิดความเสียหาย (2) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 43 และพระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 มาตรา 46 – 50 ซึ่งบัญญัติให้โครงการหรือ กิจกรรมที่อาจมีผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมต้องทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment หรือ EIA) ถือได้ว่าเป็น มาตรการหนึ่งในการดำเนินการตามหลักการระวังไว้ก่อน อย่างไรก็ดีกฎหมายเรื่อง EIA ของไทยใน ปัจจุบัน ยังมีจุดบกพร่องหลายประการ อาทิเช่น การกำหนดประเภทและขนาดของโครงการที่ต้องทำ EIA ไม่ครอบคลุม ทำให้ยังคงมีโครงการหรือกิจกรรมหลายลักษณะที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรง ต่อสิ่งแวดล้อมไม่ต้องทำ EIA และกฎหมายยังไม่ได้กำหนดชัดเจนว่าประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียจะมี ส่วนร่วมได้อย่างไรในกระบวนการ EIA นอกจากนี้ยังไม่มีการตั้งองค์การอิสระที่จะร่วมพิจารณาและ ให้ความเห็นแก่โครงการและรายงาน EIA ตามเจตนารมณ์ของมาตรา 43 แห่งรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย (3) พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 มาตรา 13 บัญญัติให้พืชดัดแปลง พันธุกรรมเพื่ อขอรับความคุ้มครองเป็นพันธุ์พืชใหม่ ต้องผ่านการประเมินความปลอดภัยต่อ สิ่งแวดล้อมตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (4) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฯ ฉบับวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 กำหนดให้พืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรมจำนวน 40 รายการจากทุกแหล่งยกเว้น “อาหาร สำเร็จรูป” เป็นสิ่งต้องห้ามนำเข้า และประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฯ วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2546 กำหนดให้พืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรมอีกจำนวน 49 รายการ จากทุกแหล่งยกเว้น อาหารสำเร็จรูป เป็นสิ่งต้องห้ามนำเข้า และในกรณีที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าเพื่อการทดลองวิจัย ต้อง ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด จะเห็นได้ว่า การนำหลักการระวังไว้ก่อนมาใช้ในกฎหมายไทยส่วนใหญ่จะเน้นหนักเรื่อง การป้องกันอันตรายจากพืชดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์อย่างชัดเจนว่ามี อันตรายต่อสุขภาพ หรือจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดแวดล้อมและระบบนิเวศมากน้อยเพียงใดหากมีการ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3