2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์
38 ออกสู่สิ่งแวดล้อม สำหรับมาตรการอื่น ๆ ทางด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการป้องกันมลพิษ นั้น ประเทศไทยยังมิได้นำหลักการป้องกันไว้ล่วงหน้ามาใช้อย่างเต็มที่ (กอบกุล รายะนาคร,2549) ดังนั้นแนวความคิดในหลักการระวังไว้ก่อน (Precautionary Principle) เป็นหลักการใน เชิงรุกที่เน้นการป้องกันผลกระทบล่วงหน้าที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นหลักที่แพร่หลายในสากล และถือเป็น แผนแม่บทการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลกหลักการนี้เกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ว่า การทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้น สามารถทำได้ง่ายแต่การแก้ไขฟื้นฟูนั้นทำได้ยาก อีกทั้งต้องใช้เวลายาวนานและงบประมาณสูงหรือในบางครั้งไม่สามารถฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพดังเดิมได้ ดังนั้น หัวใจสำคัญของหลักการนี้จึงอยู่ที่การสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีระบบนิเวศที่เปราะบาง ในกรณีที่มีข้อสงสัยหรือความเชื่อว่ากิจกรรม การพัฒนาใดจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแล้ว แม้ว่าข้อมูลหรือ ข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ในขณะนั้นจะยังไม่สมบูรณ์ก็ตาม ให้มีการกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขไว้ก่อนล่วงหน้า การปนเปื้อนมลพิษในสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่สามารถป้องกันได้โดยใส่ใจ และตระหนักต่อปัญหาเพราะหากเกิดการปนเปื้อนของมลพิษจะต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟู สูงกว่าการป้องกัน (ปีดิเทพ อยู่ยืนยง, 2555) การปรับใช้แนวความคิดในการป้องกันไว้ก่อนกับการจัดการขยะอาหารนั้น พิจารณาจาก ในปัจจุบันมีไทยมีรสถานที่กำจัดมูลฝอยถูกหลักวิชาการ จึงกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน พื้นที่นั้น ๆ นำมูลฝอยทั่วไปมากำจัดในสถานที่ที่กำหนดไว้ ดังนั้น จึงทำให้ปริมาณมูลฝอยที่เข้าฝังกลบ สูงกว่าที่ออกแบบไว้และส่งผลให้หลุมฝังกลบเต็มเร็วกว่าที่กำหนด ด้วยเหตุนี้จึงมีโครงการที่จะบริหาร จัดการมูลฝอยชุมชนด้วยการแปรรูปมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิง RDF ดังนั้น จึงควรมีการกำหนดมาตรการ ป้องกันตามหลักการระวังไว้ก่อน เพื่อให้มีความโปร่งใสโดยรับฟังข้อมูลความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อาจกล่าวได้ว่าหลักการระวังไว้ก่อน เป็นการกำหนดหรือหามาตรการโดยการใช้ เทคโนโลยีที่จำเป็นและเหมาะสม เพื่อป้องกันมิให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหายที่สามารถ คาดหมายล่วงหน้า หรือให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหายน้อยที่สุดในด้านสิ่งแวดล้อม กฎหมายไทย นำหลักการนั้นมาบัญญัติไว้ในลักษณะให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานในการเข้าไปตรวจสอบ ว่าผู้ประกอบ กิจการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นหลักการ สำคัญอย่างยิ่งเกี่ยวกับการป้องกันล่วงหน้า เพราะการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการ คาดหมายหรือทำนายว่าการประกอบกิจการตามโครงการหรือกิจการนั้นจะก่อให้เกิด ผลกระทบ สิ่งแวดล้อมมากน้อยเพียงใด และจะมีมาตรการเพื่อลดและแก้ไขผลกระทบต่อคุณภาพ สิ่งแวดล้อมที่ เกิดจากการดำเนินงานตามโครงการหรือกิจการนั้นอย่างใดบ้าง (วรานุช ภูวรักษ์, 2560)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3