2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์

39 2.3 แนวคิดเรื่องบทบาทอำนาจหน้าที่ในการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น อานันท์ ปันยารชุน (2539) กล่าวไว้ว่า ในการจัดการแก้ไขปัญหาขยะจะสามารถแยกสมาชิกใน สังคมไทย กลุ่มใหญ่ได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกได้แก่ รัฐ ซึ่งรวมทั้งสถาบันการเมืองและข้าราชการ ซึ่งต้องดูแลการพัฒนาประเทศ รับผิดชอบ ออกระเบียบ ข้อบังคับ หรือกำหนดสิ่งที่เป็นแรงจูงใจเพื่อให้สมาชิกในสังคมปฏิบัติโดยไม่ ทำลายสิ่งแวดล้อมและสามารถรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้กลุ่มที่ 2 คือ ฝ่ายธุรกิจซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าและผู้ให้บริการ กลุ่มนี้ผลิตสินค้าและบริการ มากมายหลายชนิดสำหรับตลาดในประเทศและส่งออกไปจำหน่ายทั่วโลก ต้องใช้ปัจจัยการผลิตที่เป็น วัตถุดิบในกระบวนการผลิตต้องมีของเสียออกมา เช่น ขยะและน้ำเสีย เป็นต้น กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มใหญ่ คือ ประชาชน กลุ่มนี้เป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ในฐานะผู้ผลิตก็ต้องใช้ ทรัพยากรธรรมชาติ ฐานะเป็นผู้บริโภคใช้สินค้าและบริการที่ฝ่ายธุรกิจผลิตออกมา คนกลุ่มนี้อาศัยทั้ง ในเมืองและชนบทในการแก้ไขปัญหา ทั้งสามกลุ่มต้องมาปฏิบัติร่วมกันในกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง หมายถึงทุกคนจะต้องลงมือร่วม แก้ปัญหาด้วยกัน ถึงแม้ว่าแต่ละกลุ่มจะมีหน้าที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1. หน่วยงานของรัฐ หน้าที่หลักอย่างหนึ่งของรัฐ คือ ชี้นำและเข้าแทรกแซงเพื่อให้เกิดความเป็น ธรรมในสังคมเพื่อให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมดีขึ้น ส่วนในการจัดการสิ่งแวดล้อมรัฐจำต้องกำหนด นโยบายแนวทางการแก้ปัญหาให้ชัดเจนในและกำหนดมาตรการรวมทั้งกลยุทธ์ที่ใช้แก้ไขให้มีผล ในทางปฏิบัติ ซึ่งไม่ได้หมายความว่า รัฐจะต้องดำเนินการเองในทุกเรื่องแต่ต้องกำหนดกรอบที่จะให้ ปฏิบัติ 2. บทบาทของฝ่ายธุรกิจผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าและผู้ให้บริการมากมายหลายชนิดสำ หรับตลาดในประเทศและส่งออกไปจำหน่ายทั่ วโลก ต้องใช้ปัจจัยการผลิตที่ เป็นวัตถุดิบ ใน กระบวนการผลิตต้องมีของเสียออกมา เช่น ขยะ และน้ำเสีย ดังนั้นในกระบวนการผลิตและการ ให้บริการจึงจำเป็น ต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการผลิตและการบริการที่ไม่ส่งผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมจะต้องมีขั้นตอนการกำจัดของเสียที่ออกมาจากแหล่งผลิตสินค้าและการบริการที่มี คุณภาพ ควรได้รับการรับรองจาก ISO 3. บทบาทของประชาชนผู้บริโภคจะมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อม เป็นของประชาชนทุกคน ดังนั้นหากประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และจัดการสิ่งแวดล้อมแล้ว การพัฒนาที่ยั่งยืนก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ การให้ประชาชนส่วนใหญ่มีบทบาทในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องไม่ง่าย เพราะประเทศไทยประกอบด้วยคนจำนวนมากที่มีฐานะและความเป็นอยู่ต่างกัน ปัญหาของแต่ละคนต่างกัน มองเห็นปัญหาต่างกัน การสร้างจิตสำนึกร่วมกัน จำต้องอาศัยเวลาเพื่อให้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3