2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์
40 คนส่วนใหญ่ที่ต่างพื้นฐานการศึกษา ต่างพื้นฐานการประกอบอาชีพได้เข้าใจในผลประโยชน์ของ ประเทศร่วมกัน (บัณฑิต คุ้มวานิช, 2555) 2.4 ทฤษฎีการมีส่วนร่วมของประชาชน การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจการพัฒนาโครงการหรือกิจกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้นใน อนาคต ไม่ว่าโครงการหรือกิจกรรมนั้นเป็นของภาครัฐ รัฐวิสาหกิจหรือเอกชน ถือว่าเป็นวิธีการที่จะ พัฒนาประเทศและเป็นการคุ้มครองและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่ อให้ตนเองมีชีวิตในสิ่ งแวดล้อมที่ ดี โดยตนเองนั้ นมีสิทธิ ในการมีส่วนร่วมการบำรุงรักษา ทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนร่วมดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นกับรัฐและประชาชนในการบำรุงรักษา และการได้ ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นสมบัติของส่วนรวม (กอบกุล รายะนาคร, 2550) หลักการที่ สำคัญอีกประการหนึ่ง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการจัดการขยะอาหารให้ยั่งยืนก็คือ การมีส่วนร่วม ของประชาชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีบทบาทสำคัญต่อการจัดการและการพัฒนาสิ่งแวดล้อม (จุมพต สายสุนทร, 2563) ทวีวงค์ ศรีบุรี (2538) ได้มีแนวคิดการมีส่วนร่วมว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนย่อมถือว่าเป็น สิทธิโดยชอบธรรมในระบบประชาธิปไตย เพราะประชาชนทุกคนย่อมมีสิทธิที่จะรับรู้ข่าวสาร การ สนับสนุนหรือการคัดค้านการพัฒนาโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ และที่สำคัญคือ ประชาชนใน ท้องถิ่นจะทราบถึงรายละเอียดของสภาวะแวดล้อมในบริเวณพื้นที่ดีกว่าหน่วยงานที่เข้าไปจัดทำการ พัฒนาโครงการหรือกิจกรรมดังนั้นการให้ประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนในท้องถิ่นเข้าร่วม การพัฒนาโครงการหรือกิจกรรมนั้น ๆ จะทำให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ประสาน ตั งสิ กบุ ตร ( 2538) ได้ ให้ แนวคิ ดการมี ส่ วนร่ วมของประชาชนในการจั ดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนี้ 1. ชุมชนจะพัฒนาอย่างยั่งยืน ต้องเกิดขึ้นบนพื้นฐานข้อสัญญาของประชาชนภายใต้ขีดจำกัด ของระบบนิเวศโดยได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐองค์กรเอกชนและองค์กรชุมชนด้วย 2. จะต้องประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนได้เห็นถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยชุมชนเอง 3. องค์กรชุมชนจะเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของประชาชน 4. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อความเหมาะสมกับการพัฒนาจะต้องผ่านการทำงานของ องค์กรชุมชน การให้ข่าวสารสาธารณะอย่างต่อเนื่องและมีการวิจัยศึกษาสภาพของชุมชนรวมถึงการ ติดตามเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องเช่นกัน Cohen and uphof (1980) ได้มีแนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชนว่าจะต้องมีปัจจัยที่มีอิทธิพล ซึ่งชุมชนจะเข้าร่วมมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยและองค์ประกอบต่าง ๆ อย่างสลับซับซ้อนมิใช่ ด้านใดด้านหนึ่ง จะต้องพิจารณาถึงมิติของการมีส่วนร่วมและบริบทสภาพแวดล้อม เช่นภูมิศาสตร์ของ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3