2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์

42 2.2 องค์ประกอบเชิงกายภาพ และธรรมชาติ เช่น ภูมิศาสตร์ และเชิงชีวะภาพของ สภาพแวดล้อม 2.3 องค์ประกอบด้านสังคม ได้แก่ การเมือง เศรษฐกิจ สังคมและด้านวัฒนธรรม องค์ประกอบทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วม ตามแนวคิดของ Cohen and Uphof (1980) ซึ่งเป็นแนวคิดที่สามารถใช้ได้กับสังคมไทยเราโดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบของ โครงการควรมีความเชื่อมโยงและมีความยืดหยุ่น เพื่อความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่จึงจะเป็นการมี ส่วนร่วมที่แท้จริง การมีส่วนร่วมของประชาชนในประเทศไทย สำหรับประเทศไทย ความตื่นตัวเรื่องการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมได้เพิ่มมากขึ้นอย่าง เห็นได้ชัดในกว่าหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ดังจะเห็นได้จากการ ใช้สิทธิของประชาชนในการคัดค้าน โครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งได้ นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวด ล้อม บ่อยครั้งขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบราชการไทยไว้นั้น ก็คือ การเปิดระบบราชการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งนี้ได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ เช่น การสร้าง ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยราชการ การจัดใ ห้มีระบบ ปรึกษาหารือกับประชาชน สำรวจความคิดเห็นและหรือจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน อย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งนำเสนอข้อมูลสารสนเทศที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานอย่างโปร่งใส และเปิดเผยลงในเว็บไซด์ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยง่าย ในปัจจุบัน กฎหมายที่มีความสำคัญมากที่สุดในการรับรองการมีส่วนร่วมของประชาชนก็คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของ ประชาชนปรากฏอยู่ในหมวดต่าง ๆ สิทธิในการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่อยู่ในหมวด 3 เรื่องสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย นอกจากบทบัญญัติใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แล้ว ยังมีกฎหมายอีกหลายฉบับที่มีบทบัญญัติ ในเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม ได้แก่ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 มาตรา 6 บัญญัติเรื่องสิทธิ และหน้าที่ของบุคคลในเรื่องต่าง ๆ เช่น สิทธิในข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการรักษาสิ่งแวดล้อม และสิทธิในการได้รับชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าทดแทนจากรัฐในกรณีที่ได้รับอันตรายที่เกิดจากการ แพร่กระจายของมลพิษจากโครงการหรือกิจการที่ริเริ่ม สนับสนุน หรือดำเนินการโดยหน่วยงานของ รัฐ เป็นต้น และ มาตรา 7 และมาตรา 8 ซึ่งบัญญัติรับรองฐานะและบทบาทหน้าที่ขององค์กรพัฒนา เอกชนด้านสิ่งแวดล้อม หรือ NGOs ด้านสิ่งแวดล้อม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3