2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์
43 พระราชบัญญัติการชลประทานราษฎร์ พ.ศ. 2482 บัญญัติรับรองการจัดการน้ำโดยประชาชน หรือชุมชนท้องถิ่น เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดหาน้ำเพื่อการเพาะปลูก อันเป็นการรับรองระบบเหมือง ฝายตามจารีตประเพณีของการจัดการน้ำในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 บัญญัติเรื่องการทำผังเมือง โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในกระบวนการจัดทำผังเมือง ได้แก่ การปิดประกาศเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบและแสดงความ คิดเห็นเกี่ยวกับผังเมือง รวมทั้งการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในกระบวนการจัดทำ ผังเมือง พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 มาตรา 64 บัญญัติให้บุคคลที่อาศัยอยู่ใกล้ชิดหรือติดต่อกับ โรงงานที่มีการกระทำผิดกฎหมายโรงงาน หรือบุคคลซึ่งความเป็นอยู่ถูกกระทบกระเทือนเนื่องจาก การกระทำความผิด เป็น “ผู้เสียหาย” ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากล่าวคือสามารถ ร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานเพื่อให้ลงโทษผู้กระทำผิดได้ พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 มาตรา 51 บัญญัติให้ประชาชนผู้พบเห็นการกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้สามารถแจ้งความต่อ พนักงานสอบสวน เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ โดยไม่ชักช้า และให้ถือว่าประชนผู้พบเห็นการกระทำผิดเป็น “ผู้เสียหาย” ตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา นอกจากนี้ มาตรา 48 วรรคสอง ยังบัญญัติให้แบ่งค่าปรับที่ ได้จากการ เปรียบเทียบปรับให้แก่ผู้แจ้งตามมาตรา 51 กึ่งหนึ่ง จากตัวอย่างของกฎหมายตามที่กล่าวมานี้แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีกฎหมายมากพอสมควรที่ เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทั้ง 3 ด้านตามที่กล่าวไว้ในคำประกาศกรุงริโอ แต่การมีส่วนร่วมของ ประชาชนยังคงเป็นปัญหาสำคัญในสังคมไทย อันเนื่องมาจากปัญหาทั้งที่เป็นปัญหาในแง่ปฏิบัติในแง่ กฎหมาย และทัศนคติของหน่วยงานของรัฐและตัวประชาชนเอง (กอบกุล รายะนาคร, 2549) 2.5 หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนระดับโลกสร้างขึ้นจากความสำเร็จของเป้าหมายการพัฒนาแห่ง สหัสวรรษก่อนหน้าที่ประสานงานโดยสหประชาชาติและประเทศสมาชิก การรณรงค์เพื่อให้บรรลุ เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษเริ่ มขึ้ นใน พ.ศ. 2543 และสิ้ นสุดใน พ.ศ. 2558 องค์การ สหประชาชาติเสนอวาระการพัฒนา 2030 (Agenda 2030) ปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) ในการ ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ซึ่งวาระการพัฒนาระดับโลกนี้ก็คือการร่วมกันบรรลุเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นกว่าเดิมและ คุณภาพชีวิตของทุกคนในโลกให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น บรรลุการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และ สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ภายในปี พ.ศ. 2579 หรือ ค.ศ. 2030 วาระการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3