2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์

46 สิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย) และภายใต้การพัฒนา ที่ยั่งยืนนี้ก็มีอนุกรรมการอีก 3 คณะ (ในขณะนั้นและอีก 1 คณะตั้งในภายหลัง) ประกอบด้วย 1. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 2. คณะอนุกรรมการส่งเสริมความเข้าใจและประเมินผลการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง 3. คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน 4. (เพิ่มเติมภายหลัง) คณะอนุกรรมการว่าด้วยการประเมินด้านสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment: SEA) (ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Centre for SDG Research and Support: SDG & Move) All rights reserved., 2022) สิ่งสำคัญของการขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในประเทศเพื่อไปเป็น เป้าหมายการพัฒนาของท้องถิ่น โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ร่วมกับคณะทำงาน SDG Move หรือ โครงการประสานงานการวิจัยเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ( SDGs) (ชล บุนนาคและคณะ,2562)องค์การพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ได้กำหนดให้ขยะอาหาร เป็น หนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในปี ค.ศ. 2030 ขยะอาหารที่เกิดจากการจำหน่ายและการ บริโภคทั่วโลกจะต้องลดลง 50% จุดมุ่งหมายแรกคือการพัฒนาเครื่องมือและตัวชี้วัดปริมาณของการ สูญเสียอาหารและขยะอาหาร (กะรัตลักษณ์ เหลี่ยมเพชร, 2019) ตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนมีความเกี่ยวข้องกับมาตรการทางกฎหมายในการจัดการขยะ อาหารหลายเป้าหมาย ดังนี้ เป้าหมายที่ 1 : ขจัดความยากจนทุกรูปแบบในทุกพื้นที่ (End poverty in all its forms everywhere) เป็นเป้าหมายที่ว่าด้วยการลดความยากจนทั้งทางเศรษฐกิจและความยากจนในมิติอื่น ๆ เป้าประสงค์ของเป้าหมายนี้ครอบคลุมประเด็นการยกระดับรายได้ของผู้คน ให้ความสำคัญกับการ สร้างภูมิต้านทานให้กับคนยากจนและเปราะบางจากภัยพิบัติต่าง ๆ ทั้งทางเศรษฐกิจสังคมและที่ เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศด้วย ในทางนโยบายเป้าหมายนี้จะเน้นให้มีการช่วยเหลือกันระหว่าง ประเทศ โดยการระดมทรัพยากรที่หลากหลายไปช่วยประเทศที่พัฒนาน้อยกว่าเพื่อลงทุนในโครงการ ที่ขจัดความยากจน ถ้าหากว่ามีปัญหาเกี่ยวกับอาหารเนื่องจากปัจจุบันมีจำนวนประชากรทั่วโลกที่ต้อง เผชิญกับความหิวโหย โดยพฤติกรรมของมนุษย์ที่กินทิ้งกินขว้าง หรือตามประเพณีที่รับประทาน อาหารแล้วต้องเหลือไว้ในจานอีกทั้งอาหารจากการผลิตมากกว่า 30% ที่ถูกทิ้งทั่วโลกในแต่ละปีแสดง ให้เห็นว่าเรามีอาหารเพียงพอต่อคนทั้งโลก แต่อาหารเหล่านี้ไม่สามารถแจกจ่ายให้คนทั้งโลกที่ ต้องการ อีกทั้งยังถูกทิ้งอย่างไร้ค่าซึ่งถือได้ว่าเป็นปัญหาในการขจัดความยากจน และช่องทางในการ จัดการปัญหานี้มีหน่วยงานไม่เพียงพอต่อการกำจัดปัญหาเหล่านี้ ดังนั้นจึงสร้างหลักประกันว่ามีการ ระดมทรัพยากรอย่างมีนัยสำคัญจากหลากหลายแหล่งที่มา ซึ่งรวมถึงการส่งเสริมความร่วมมืออื่นใน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3