2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์
47 การพัฒนาเพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนามีวิธีการที่เพียงพอ และสามารถคาดการณ์ได้ โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในประเทศพัฒนาน้อยที่สุดสาหรับการดำเนินการตามโครงการ และนโยบายขจัดความยากจนใน ทุกมิติ เป้าหมายที่ 2 : ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการและ ส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน (End hunger, achieve food security and improved nutrition and promote sustainable agriculture) มีเป็นประเด็นที่ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ตั้ งแต่การ เข้าถึงอาหารปลอดภัยและมีโภชนาการ ยุติภาวะทุพโภชนาการ เพิ่ มผลิตภาพและการเข้าถึง ทรัพยากรและโอกาสต่าง ๆ ของเกษตรกรรายย่อย ซึ่งรวมถึงผู้หญิง คนพื้นเมือง เกษตรกรที่ทำกินใน ครัวเรือนแบบยังชีพ คนเลี้ยงปศุสัตว์และประมงพื้นบ้าน เกษตรกรรมที่ยั่งยืนและปรับตัวต่อการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และช่วยพัฒนาคุณภาพดินได้ และความหลากหลายทางพันธุกรรม การ เข้าถึง ใช้ประโยชน์ และแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม ในเชิงนโยบาย เป้าหมายที่ 2 เน้นไปที่การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวกับการเกษตรในประเทศกำลังพัฒนา การทำให้ตลาดสินค้าเกษตรโลกมีความเสรีและเป็นธรรมและการลดความผันผวนราคาอาหารโดยการ ทำให้ตลาดโภคภัณฑ์อาหารและตลาดอนุพันธ์ทำงานได้อย่างเหมาะสม ปัจจุบันยังไม่มีมาตรการทาง กฎหมายในการควบคุมจัดการปัญหานี้ไว้เป็นเฉพาะเจาะจง และยังไม่มีหน่วยงานใดที่เข้ามาควบคุม การจัดการอย่างเพียงพอ เนื่องจากขยะอาหารและการสูญเสียอาหารเป็นแค่ส่วนหนึ่งของระบบ อุตสาหกรรมอาหารที่มุ่งแต่จะผลิตอาหารให้คนมากขึ้นแต่กลับมีอาหารถึง 1 ใน 3 ถูกทิ้งเป็นขยะ จริง ๆ แล้ว ความไม่มั่นคงทางอาหารเกิดจากความเหลื่อมล้ำไม่ใช่การผลิตไม่เพียงพอ ดังนั้น การแก้ปัญหา นั้นคือการเปลี่ยนระบบการผลิตอาหารเดิม จากการผลิตอาหารเชิงอุตสาหกรรม แทนที่ด้วยการผลิต จากท้องถิ่นและการบริโภคอาหารที่ผลิตจากการเกษตรเชิงนิเวศ ซึ่งจะทำให้เราต้องทิ้งอาหารน้อยลง เพื่อยุติความหิวโหยและสร้างหลักประกันให้ทุกคน โดยเฉพาะที่ยากจนและอยู่ในภาวะเปราะบางอัน รวมถึงทารกได้เข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย มีโภชนาการและเพียงพอตลอดทั้งปี ตั้งกลุ่มเพื่อรับบริจาค อาหาร เพื่อนำไปบริจาคสำหรับบุคคลที่ต้องการอาหารในการดำรงชีวิตอย่างแท้จริง เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคน ในทุกวัย (Ensure healthy lives and promote well-being for all at all ages) ครอบคลุม ประเด็นด้านสุขภาพและสวัสดิภาพที่สำคัญหลายประเด็น ถ้าหากว่าการกำจัดขยะอาหารในวิธีที่ไม่ ถูกต้องหรือสภาพปัญหาขยะมากเกินที่จะกำจัดได้ก็อาจก่อให้เกิดโรคภัยต่อมนุษย์ ที่เกิดจากการ ปนเปื้อนมลพิษต่าง ๆ นอกจากนี้การย่อยสลายของขยะอาหารที่กำจัดด้วยวิธีการเทกองบนพื้นจะ กระจายความเน่าเสียสู่แหล่งน้ำ ทำให้เกิดมลพิษต่อแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่ใกล้กับกองขยะจะส่งผล กระทบต่อเนื่องไปยังประชาชนในชุมชนที่ใช้น้ำในการอุปโภคและบริโภค ซึ่งในส่วนนี้การกำจัดขยะ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3