2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์
48 อาหารกฎหมายมอบอำนาจหน้าที่ให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในการกำจัดแต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อ สภาวะขยะอาหารที่เกิดขึ้น อีกทั้งสถานที่ที่กำจัดไม่เพียงพออีกด้วย เป้าหมายที่ 12 สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ( Ensure sustainable consumption and production patterns) การขับเคลื่อนรูปแบบการผลิตและ การบริโภคที่ยั่งยืน มีความสำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนบนพื้นฐานของการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ ตระหนักถึงต้นทุนทางสังคมและสิ่ งแวดล้อม โดยส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่ างมี ประสิทธิภาพ ขยะอาหารเป็นหนึ่งในประเด็นปัญหาที่สำคัญของโลกดังที่ปรากฏในเป้าหมายการ พัฒนาที่ยั่งยืนเป้าประสงค์ที่ 12.3“ลดขยะอาหารของโลกลงครึ่งหนึ่งในระดับค้าปลีกและผู้บริโภค และลดการสูญเสียอาหารจากกระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการสูญเสียอาหารหลังเก็บ เกี่ยวภายในปี พ.ศ. 2573” การขาดแคลนอาหารเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ซุกซ่อนอยู่หลังภาพความ หิวโหยของประชากรนั้ น ปัญหานี้ จึงนำมาสู่ ผลกระทบด้านสิ่ งแวดล้อม องค์การอาหารโลก เปรียบเทียบว่าหากขยะอาหารเป็น 1 ประเทศ ประเทศนี้จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดเป็น อันดับ 3 ของโลก แน่นอนว่าเราเริ่มลดปริมาณขยะอาหารได้จากบ้านของเราเอง แต่เพียงแค่การร่วม ใจกันลดนั้นไม่อาจลดปริมาณขยะอาหารได้เพราะจริง ๆ แล้วปัญหาดังกล่าวเกิดจากระบบที่อยู่ในการ ผลิตอาหารปริมาณมหาศาลเหล่านั้น ดังนั้นหากต้องการแก้ปัญหานี้ เราต้องการความร่วมมือจากทุก ภาคส่ วนทั้ งนี้ องค์กรการอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ( The Food and Agriculture Organization of United Nation :FAO) ร่ วมกับโครงการสิ่ งแวดล้อมสหประชาชาติ ( United Nation Environment Programme : UNEP) ได้เสนอแนวทางและลำดับการบริหารจัดการอาหาร เพื่อลดปริมาณขยะอาหาร โดยแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ 1) การป้องกัน 2) การเพิ่มประโยชน์3 ) การนำมาเพื่อผลิตใช้ใหม่ 4) การกำจัดเพื่อนำพลังงานมาใช้ใหม่ 5)การกำจัด การเกิดขยะอาหารจึง ปัญหาใหญ่ที่ยังแก้ไขไม่ได้และส่งผลกระทบความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจ หรือสภาวะแวดล้อมก็ตาม ขณะที่ไทยสร้างขยะ 27-28 ล้านตันต่อปี กว่าครึ่งหนึ่งเป็นขยะที่มาจาก อาหารทั้งบริโภคไม่หมดและวัสดุที่ใช้ประกอบอาหาร ดังนั้นเมื่อจัดการไม่ถูกต้อง สิ่งที่ตามมาคือการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยเฉพาะการสะสมของเสียประเภทสารอินทรีย์ ทำให้เกิดมีเทนเป็นสาเหตุให้ เกิดภาวะโลกร้อน ประเทศไทยส่งเสริมการจัดการขยะต้นทางมาหลายปีแต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ เพราะว่า องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมีกฎหมายแต่ยังไม่บังคับใช้ อาทิเช่น การเก็บค่าขยะในอัตราก้าวหน้า การควบคุมกลุ่มผู้ประกอบการจำหน่ายอาหาร การคัดแยกขยะ ขณะที่กรณีต่างประเทศ เห็นได้ชัดว่า การมีมาตรการบังคับ ส่งผลให้ปริมาณ ขยะอาหารลดลงชัดเจน เช่น ฝรั่งเศส มีกฎหมายห้ามร้านค้า ทิ้งอาหารเหลือแต่ต้องไปบริจาคแก่ธนาคารอาหารหรือทำปุ๋ยหมักเพื่อช่วยลดจำนวนขยะอาหาร ทำ ให้ประเทศฝรั่งเศสสามารถลดจำนวนขยะอาหารได้และยังเป็นประโยชน์กับคนยากไร้ ความร่วมมือ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3