2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์
49 ของภาครัฐกับเอกชนเป็นเรื่องสำคัญและการใช้มาตรการบังคับควบคู่กับมาตรการสร้างจูงใจ เริ่มจาก แหล่งกำเนิดขยะอาหารขนาดใหญ่ไปสู่ครัวเรือนและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค โดย อำนาจหน้าที่และศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการดำเนินงานตลอดโซ่อุปทานอาหาร และสร้างความร่วมมือกับเอกชนและประชาชน เป้าหมายที่ 16 ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึง ความยุติธรรมและสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผลรับผิดชอบและครอบคลุมในทุกระดับ (Promote peaceful and inclusive societies for sustainable development, provide access to justice for all and build effective, accountable and inclusive institutions at all levels) โดยเป้าประสงค์ 16 ที่ส่งเสริมและบังคับใช้กฎหมายและนโยบายที่ไม่เลือกปฏิบัติเพื่อการ พัฒนาที่ยั่งยืน สาเหตุการเกิดปัญหาขยะอาหารเหล่านี้จำเป็นต้องมีมาตรการสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ที่ ก่อให้เกิดขยะอาหารไม่ว่าจะเป็นการสร้างแรงจูงใจด้านภาษี หรือค่าธรรมเนียมในการกำจัดขยะของ ภาครัฐ และวิธีการกำจัดที่ไม่ถูกต้อง ขยะอาหารเหล่านี้ยังมีการกำจัดที่เหมือนกับขยะมูลฝอย เพรา ะ กฎหมายบัญญัติให้ขยะอาหารอยู่ในประเภทเดียวกับขยะมูลฝอย ดังนั้นหน่วยงานของรัฐยังมีวิธีการ จัดการกำจัดปัญหาเหล่านี้ยังไม่ถูกต้อง จึงเห็นได้ว่าเป็นช่องว่างของกฎหมายที่ต้องดำเนินการแก้ไข อย่างเร่งด่วน มาตรการทางกฎหมายที่ใช้บังคับในปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมการจัดการปัญหาขยะทั้ง ระบบและยังขาดความชัดเจนในการจัดการขยะมูลฝอยแต่ละประเภท ซึ่งรวมถึงขยะอาหารเพราะการ กำจัดขยะอาหารยังเป็นวิธีการกำจัดแบบเดียวกันกับการกำจัดขยะมูลฝอย ซึ่งถือได้ว่ามีช่องว่างของ กฎหมายในการจัดการขยะโดยที่ กฎหมายซ้ำซ้อน ทับซ้อน และยุ่งยากในการบังคับใช้ ถึงแม้จะมี กฎหมายหลายฉบับแต่กฎหมายไม่สมบูรณ์ ไม่ชัดเจน ไม่ครอบคลุมการจัดการขยะในทุกขั้นตอน เพราะกฎหมายขยะประชาชนมีส่วนสำคัญที่สุดในการจัดการ เพราะกฎหมายมุ่งไปที่องค์การปกครอง ส่วนท้องถิ่น แต่ไม่ได้พูดถึงหน้าที่ประชาชน เช่น ต้องคัดแยกขยะ หรือส่งมอบขยะให้ถูกต้องตามที่ กำหนด จึงจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมและบังคับใช้กฎหมายและนโยบายที่ไม่เลือกปฏิบัติเพื่อการพัฒนาที่ ยั่งยืน ดั งนั้ น จากที่ กล่ าวไว้ แล้ วข้ างต้นสรุ ปได้ ว่ าเป้ าหมายการพัฒนาที่ ยั่ งยืน( Sustainable Development Goals: SDGs) เป็ นเป้ าหมายการพั ฒนาของสหประชาชาติ ที่ คอยพั ฒนา ความก้าวหน้าทางสังคม เศรษฐกิจ มาตรการทางกฎหมายในการจัดการขยะอาหาร ถือได้ว่าเป็น เป้าหมายที่ต้องการแก้ไขการพัฒนาโดยสหประชาชาติเพื่อพัฒนาและมีมาตรการเข้ามาช่วยเหลือ เพื่อ เป็นเป้าหมายสูงสุดในการพัฒนากฎหมายให้เป็นสากลและก้าวไกลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้ง ต้องส่งเสริมให้สังคมมีความสงบสุขและครอบคลุมเข้ากับการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงความ ยุติธรรมและสร้างหน่วยงานที่มีความรับผิดชอบ ครอบคลุมทุกกระบวนการขั้นตอนในทุกระดับตาม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3