2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์

64 กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการขยะอาหารส่วนเกินของ สหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา มีกฎหมายที่มีเป้าประสงค์ในการส่งเสริมการบริจาคอาหาร ส่วนเกิน ซึ่งกฎหมายดังกล่าวให้การยกเว้นจากความรับผิดชอบทั้งทางแพ่งและทางอาญาแก่ผู้ที่ บริจาคอาหารที่อยู่ในสภาพเพื่อการกุศล ยกเว้นเพียงในกรณีประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทางรัฐ ยังให้สิทธิพิเศษด้านภาษีในการบริจาคอาหารเพิ่มเติมอีกด้วย มลรัฐบางแห่ง เช่น มลรัฐ Vermont Connecticut และ Massachusetts ที่มีนโยบายในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่เข้มข้น ได้มีการออกกฎ กติกา ที่ห้ามธุรกิจ มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล โรงเรียน ร้านอาหาร ศูนย์การค้า ที่ผลิตอาหารขยะ มากกว่า 1 ตันต่อสัปดาห์ ฝังกลบขยะอาหารเหล่านั้น ซึ่งกฎระเบียบดังกล่าวได้ส่งผล ให้ปริมาณการ บริจาคอาหารและการรีไซเคิลอาหารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อลดปริมาณขยะอาหารที่ถูกฝังกลบ (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, 2562) มาตรการของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาอาหารส่วนเกินและขยะอาหาร หน่วยงานหลักที่ดูแลเรื่องการบริหารจัดการอาหารส่วนเกินและขยะอาหาร คือ USEPA โดยทำงานร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญกับการสร้าง ฐานข้อมูลเกี่ยวกับอุปสงค์และอุปทานของอาหารส่วนเกินและขยะอาหารโดยมีการจัดทำแผนที่แหล่ง ที่ผลิตอาหารส่วนเกินหรือขยะอาหารกว่า 1.2 ล้านแหล่งทั่วประเทศ ซึ่งประกอบไปด้วยโรงงาน อุตสาหกรรม ร้านอาหาร ศูนย์การค้า และหน่วยงานที่รับบริจาคอาหารส่วนเกินหรือรีไซเคิลขยะ อาหารกว่า 4,000 แห่ง ทั่วประเทศด้วย เพื่อส่งเสริมให้มีการทำความตกลงกันในการบริหารจัดการ อาหารส่วนเกินหรือขยะอาหารระหว่างผู้รับบริจาคอาหารหรือผู้รีไซเคิลขยะอาหารในแต่ละพื้นที่ สำหรั บในส่ วนของอาหารส่ วนเกิ นในภาคการเกษตร ซึ่ งเป็นปัญหาสืบ เนื่องมาจากนโยบายในการอุดหนุนราคาสินค้าเกษตรตามที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ได้จัดทำฐานข้อมูล national farmers market search engine ซึ่งให้ข้อมูลตลาดที่จำหน่าย สินค้าเกษตรโดยตรงจากไร่ทั่วประเทศเพื่อที่จะให้หน่วยงานที่สนใจเก็บรวบรวมผลผลิตส่วนเกิน สามารถติดต่อได้นอกจากนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดทำคู่มือในการบริหารจัดการผลผลิต เกษตรส่วนเกินเป็นขั้นตอน ตั้งแต่การติดต่อเกษตรกรจากฐานข้อมูลกา รติดต่อ แหล่งที่รับบริจาค ผลผลิตเกษตรส่วนเกินผ่านองค์กรการกุศล มาตรการที่สำคัญที่สุด คือ การให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี สหรัฐอเมริกามี มาตรการในการจูงใจให้มีการบริจาคอาหารมาเป็นเวลานานและในปี 2548 ได้มีการเพิ่มสิทธิ ประโยชน์ทางด้านภาษีส่งผลให้ปริมาณอาหารที่มีการบริจาคเพิ่มมากขึ้นกว่าเท่าตัวถึงร้อยละ 137 (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, 2562)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3