2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์

69 ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพผ่านการปกป้อง เยียวยา และสร้าง หลักเกณฑ์เพื่อควบคุมการใช้ทรัพยากรธรรมดังกล่าวอย่างยั่งยืน ไทยได้รับรองสิทธิพลเมืองในการมีชีวิตในสิ่งแวดล้อมที่ดีและมีส่วนร่วมในกระบวนการ จัดการทางสิ่งแวดล้อมของไทยมีการรับรองสิทธิเหล่านี้ไว้ในรัฐธรรมนูญอันเป็นผลให้ผูกพันการใช้ อำนาจของรัฐทุกองค์กรต้องคำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพที่รัฐธรรมนูญบัญญัติรับรองและยังกำหนดหน้าที่รัฐ ไว้ในแนวนโยบายแห่งรัฐให้ต้องปฏิบัติต่อสิทธิพลเมืองในด้านสิ่งแวดล้อมและแนวนโยบายแห่งรัฐใน เรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมด้วย ในการบริหารจัดการภายในประเทศ ประเทศไทยได้ออกกฎหมายหลายฉบับเพื่ออนุรักษ์ คุ้มครอง บำรุงรักษา ฟื้นฟู บริหารจัดการ และใช้หรือจัดให้มีการใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมีกฎหมายที่สำคัญที่ใช้กับมาตรการทางกฎหมาย ในการจัดการขยะอาหาร ประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการจัดการขยะทั้งส่วนที่เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการ รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง โดยกฎหมายที่กำหนดอำนาจหน้าที่ ของผู้รับผิดชอบในการจัดการขยะและกำหนดการห้ามทิ้งขยะในที่ต้องห้าม จากการศึกษาพบว่าการ จัดการขยะในประเทศไทยนั้นเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยตรงตามกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องในการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายในเขตพื้นที่ของตน ซึ่งองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานครและ เมืองพัทยา โดยแต่ละราชการส่วนท้องถิ่นจะมีกฎหมายกำหนดถึงขอบเขตแห่งอำนาจหน้าที่ของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการขยะไว้ดังนี้ (วรรณวรางค์ ศุทธชัยและคณะ, 2562) มาตรฐานอ้างอิงและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สำหรับการจัดการขยะอาหารขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีบทบัญญัติกำหนดอำนาจหน้าที่ไว้ในพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง คือ 2.7.2.1 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 กฎหมายฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการรักษาความสะอาด มีหลักการในการคุ้มครอง ประชาชนด้านสุขลักษณะและอนามัยสิ่งแวดล้อม หรือการสุขาภิบาล โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุข มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนด หลักเกณฑ์วิธีการ และมาตรการในการควบคุมดูแล ด้านสาธารณสุข และกำหนดมาตรฐาน สภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน และวิธีดำเนินการเพื่อตรวจสอบ ควบคุม กำกับดูแล หรือแก้ไขสิ่งที่จะมีผลกระทบต่อสภาวะความ เป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน และกำหนดประเภทของกิจการที่เป็นอันตรายต่อ สุขภาพ ทั้งกำหนดให้อำนาจองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูล ฝอยในเขตพื้นที่ตามมาตรา 18 ของกฎหมายนี้ โดยกำหนดภารกิจเรื่องการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่ งมีอำนาจหน้าที่ ในการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอย ก็คือ เทศบาล อบต.

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3